คีย์สโตน (KEYSTONE)
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
 
   
 
เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
    บทความนี้น่าจะเผยแพร่ตั้งแต่สมัยที่ยังมีการสอนวิชาโสตทัศนศึกษา แต่เมื่อมีนิตยสารออนไลน์ AV Comm จึงเห็นสมควรที่จะนำมาเผยแพร่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่โสตฯที่ยังสนใจไขว่หาความรู้ และผู้อ่านทั่วๆไปได้เข้าใจ อย่างน้อยจะได้รู้ว่า เลนส์นูนนั้นคือเลนส์ควบแสงจริงๆ ไม่ใช่เลนส์เกลี่ยแสงอย่างที่สอนกันในหลายสถาบันการศึกษา

    เมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว ผมไปอบรมภาคฤดูร้อน อาจารย์ท่านบอกว่าเครื่องฉายสไลด์ไม่มีอะไร แค่มีเลนส์นูน 2ตัวเท่านั้นเอง ขอเรียนว่า ไม่ใช่แค่เลนส์ควบแสง( เลนส์นูนทำหน้าที่เป็นเลนส์ควบแสง) 2 ตัวอะไรก็ได้ ในบทความนี้จะอธิบายถึงหน้าที่ของเลนส์ควบแสงว่าแต่ละตัวทำหน้าที่อะไร


รูปที่ 1 ทางเดินของแสงในเครื่องฉายสไลด์
    ในรูปที่ 1 จะเห็นว่าในเครื่องฉายสไลด์นั้นมีหลอดฉาย ด้านหลังหลอดฉายมีจานสะท้อนแสงเพื่อป้อนแสงให้ไปด้านหน้าอย่างเดียว แต่ได้โปรดสังเกตุว่า ถึงกระนั้นก็ตาม มีแสงเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ส่องผ่านแผ่นสไลด์ นอกนั้นจะล้นออกด้านข้าง ทำให้ความสว่างที่ฉายออกมามีเพียงเล็กน้อย

    เพื่อให้แสงผ่านแผ่นสไลด์เต็มที่ เราจึงใช้เลนส์ควบแสง ( condensing lens ) บีบให้แสงผ่านแผ่นสไลด์เต็มที่ทั่วทั้งแผ่นสไลด์ ไม่ใช่เพียงบางส่วน ( ดูรูปที่ 2 )


รูปที่ 2 แสดงถึงหน้าที่ของเลนส์ควบแสงที่บีบลำแสงให้ส่องผ่านแผ่นสไลด์ทั้งหมด

    เลนส์ควบแสงตัวนี้จะอยู่หน้าหลอดฉายและต้องมีทางยาวโฟกัสที่เหมาะสมดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่า ไม่ใช่แค่มีเลนส์นูนอะไรก็ได้ มีระยะห่างเท่าไหร่ก็ได้ ซึ่งอาจารย์ท่านนั้นไม่ได้แนะนำ

    อีกประการหนึ่งเลนส์ควบแสงตัวนี้ไม่ได้ทำหน้าที่เกลี่ยแสง ความจริงมีเลนส์เกลี่ยแสงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพจากคอมพิวเตอร์ เนื่องจากแผง LCD ชนิด Polysilicon และ DMD มีขนาดเล็กมาก ทำให้กลางจอมีความสว่างมากเป็นดวงกลม ขณะที่ขอบและมุมจอ แสงจะลดลงมาก

    ผู้ผลิตที่ผมเคยทราบคือ บริษัท Doctor จากประเทศเยอรมนี แต่โรงงานนี้ได้เลิกกิจการไปนานแล้ว ตอนนั้นโรงงาน Bosh ผู้ผลิตโคมไฟรถยนต์ให้กับเบนซ์และบีเอ็มดับเบิ้ลยู ได้ซื้อกิจการส่วนที่ทำจานสะท้อนแสง เนื่องจากก่อนหน้านั้น Bosh ได้ซื้อจานสะท้อนแสงจาก Doctor ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้าน dichroic mirror ซึ่งผมจะเขียนถึงเขาอีกเล็กน้อยในบทความ “สี”



 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231