คีย์สโตน (KEYSTONE)
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
 
   
 
เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์ หน้า 3
     เมื่อมีการใช้พัดลมระบายความร้อนและกระจกกรองความร้อนระหว่างหลอดฉายและแผ่นสไลด์ เครื่องฉายสไลด์บางยี่ห้อจะใช้เลนส์ควบแสงตัวที่ อยู่ใกล้แผ่นสไลด์เป็นพลาสติกเพื่อประหยัดราคา

รูปที่ 6 กระจกกรองความร้อนส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่างเลนส์ควบแสงทั้ง 2 ตัว
ส่วนพัดลมจะทำหน้าที่ดูดลมร้อนออกจากหลอด หากใช้พัดลมเป่าไปที่หลอดฉาย หลอดฉายอาจแตกได้
     ในการสอนวิชาโสตทัศนศึกษาเอง เรียกเลนส์ควบแสงว่า เล่นส์เกลี่ยแสง ผมหวังว่าเมื่อ่านบทความนี้แล้วคงจะไม่กระจ่างใช่ตามที่นักวิชาการบางท่านอธิบาย

     ส่วนเหตุผลที่นักวิชาการเรียกเลนส์ควบแสงว่าเลนส์เกลี่ยแสง คงเพราะพวกเขาพบว่าหากไม่ใช้เลนส์ควบแสง ภาพที่ฉายจะสว่างไม่เสมอทั้งจอ ที่เป็นเช่นนั้นอาจเป็นเพราะ แสงที่ไม่มีเลนส์ควบแสง แสงจะกระจายสะท้อนไปสะท้อนมา ภายในตัวถังเครื่องฉาย ส่วนที่สะท้อนมาที่แผ่นสไลด์มากก็จะสว่างมาก ส่วนที่สะท้อนกลับมาน้อยแสงก็จะมืดกว่าส่วนอื่นๆ ทำให้สว่างไม่สม่ำเสมอทั่วจอฯ

     ขอออกนอกเรื่องนิดหน่อย สมัยที่ผมยังเพิ่งจะหนุ่ม ช่างภาพท่านหนึ่งสอนผมว่าเครื่องขยายภาพที่ดีจะใช้เลนส์ควบแสง 3 ชิ้น ( ทางเดินของแสงของเครื่องขยายภาพทำงานเหมือนกับเครื่องฉายสไลด์ เพียงแต่หัวขยายจะติดอยู่ที่ปลายเสาด้านบน ส่วนด้านล่างเป็นแท่นสำหรับวางกระดาษอัดรูป

     เมื่อผมเริ่มศึกษาเครื่องขยายภาพ ผมจึงพบว่าเครื่องขยายภาพทั่วๆไป ที่ใช้ขนาดฟิล์มเนกทิฟใหญ่ไม่เกิน 6 x 9 ซม. จะใช้เลนส์ควบแสง 2 ชิ้นทั้งหมด ส่วนเครื่องขยายภาพขนาดใหญ่กว่านั้นคือ 4” x 5” ก็ยังใช้เ.ลนส์ควบแสง 2 ชิ้น เพียงแต่ถ้าเอาเครื่องขยายภาพนี้มาใช้กับฟิล์มเล็ก เช่น ใช้กับฟิล์ม 35 มม. ที่มีขนาดภาพ 24 x 36 มม. เขาถึงจะใช้เลนส์ขยายภาพที่มีความยาวโฟกัสสั้นๆไม่เช่นนั้น หัวขยายจะอยู่สูงมาก การทำงานจะไม่สะดวก และเมื่อใช้เลนส์ขยายภาพที่มีทางยาวโฟกัสสั้นลงมากๆ จึงจำเป็นต้องใช้เลนส์ควบแสงขนาด 3 ชิ้น ด้วยเหตุผลเดียวกับในกรณีของเครื่องฉายสไลด์

     มีเหตุการณ์เกี่ยวกับเลนส์ฉายสไลด์เกิดขึ้น ขณะที่สไลด์มัลติวิชั่นกำลังบูมสุดขีด บริษัท TAMRON จากญี่ปุ่น ผู้ผลิตเลนส์ถ่ายรูปอิสระ ได้ผลิตเลนส์ฉายสไลด์เกรดสูงมากๆออกมา หลักการของเขาคือ ชิ้นเลนส์จะเคลือบหลายชั้น(มัลติโค้ด) แบบเลนส์ถ่ายรูป ใช้จำนวนชิ้นเลนส์มากขึ้นเพื่อให้ภาพที่ฉายมีความสว่างสูงขึ้นและคมชัดทั้งจอดีขึ้น แต่ที่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบคือ เลนส์ฉายทุกตัวของ TAMRON ไม่ว่าจะมีทางยาวโฟกัสเท่าไหร่ จะใช้ได้กับเลนส์ควบแสงมาตรฐาน 2 ชิ้น ที่มากับเครื่องฉายสไลด์


     ผมเข้าใจว่าเขาใช้หลักการเดียวกันกับกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้ในโรงงานประกอบอิเลกโทรนิกส์ที่เลนส์ Objective ต้องอยู่ห่างจากชิ้นงานเพื่อให้ช่างประกอบสามารถใช้ปากกาคีบหรือเครื่องวัด ช่วยให้ทำงานได้สะดวก ผลของเลนส์ TAMRON เกรดสูงนี้ ทำให้โรงงานผลิตเลนส์ฉายสไลด์ในประเทศเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา ต้องออกซีรีย์ใหม่เพื่อแข่งกับ TAMRON ทำให้ TAMRON ต้องยุติการผลิต เลนส์ฉายสไลด์ในเวลาอันสั้น


      ที่ผมรีบเขียนทางเดินของแสงในเครื่องฉายสไลด์ก่อนก็เพื่อปูทางไปสู่ทางเดินของแสงในเครื่องฉายแผ่นใส ( OHP = Over Head Projector) ที่จะเป็นตอนต่อจากเรื่องนี้และมีผู้เข้าใจผิดมากเช่นกัน






 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231