คีย์สโตน (KEYSTONE)
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
 
   
 
3 ANSI Contrast Ratio

     ขอออกนอกเรื่องนิดหน่อย ANSI เป็นชื่อย่อของ American National Standard Institute ได้เคยประกาศว่าจะยกเลิกการเป็นผู้ดูแลมาตรฐาน ANSI lumens แล้วโอนงานนี้ให้กับหน่วยงานอื่น ซึ่งผมเข้าใจว่าคือ NEC (National Electrical Code ไม่ใช่ NEC Corp ซึ่งเมื่อผมโทรไปถามชื่อเต็มของเขา โอเปอเรเตอร์ขอให้ถือสายรอ ครู่หนึ่งก็ตอบว่า NEC ไม่ใช่ชื่อย่อ ฟังแล้วหดหู่ แต่ผมจำได้คลับคล้ายคลับคลาว่า น่าจะเป็น Nippon Electric Company อะไรทำนองนั้น) แต่ไม่มีใครเรียกชื่อใหม่เป็น NEC lumens อย่าง Toshiba ถึงกับบ่นอุบว่า ทำให้คนสับสนและจะยังคงเรียก ANSI lumens ตามเดิม

     การวัดค่า ANSI Contrast Ratio นั้นเขาแบ่งจออกเป็น 16 ส่วน (ไม่ใช่ 9 ส่วนเหมือนการวัดหาค่า ANSI lumen) แต่ละส่วนจะสลับพื้นภาพขาว กับ ดำ แบบตารางหมากรุก (ดูภาพประกอบ) วิธีนี้ เขาวัด D-Max และ D-Min พร้อมกันจากแพทเทิร์นเดียวกันนี้ โดยวัดค่าความสว่างของช่องสีขาว 8 ช่อง เพื่อหาค่าเฉลี่ย D-Max และวัดค่าความสว่างของช่องสีดำ 8 ช่อง เพื่อหาค่าเฉลี่ย D-Min

     การวัดพร้อมกันจากแพทเทิร์นเดียวทำให้โกงได้ไม่ถนัด เพราะถ้าเร่งความสว่างสูงมากไป ส่วนมืดจะสว่างขึ้นมา หากลดความสว่างลงเพื่อให้มืดมาก ส่วนสว่างก็จะมืดตามไปด้วย

     สมัยที่มีมาตรฐาน ANSI Contrast Ratio ใหม่ๆ ผมเจอผู้ที่ใช้มาตรฐานนี้มีเพียงรายเดียวคือ ลีเซกัง ( Liesegang )จากประเทศเยอรมนี พอเจ้าของ 4th Dimesion ได้ยินอะไรกังๆถึงกับพึมพำว่า ชื่อเหมือนชื่อคน เวียดนาม ผมเลยยกตัวอย่าง ชื่อ โวล์ฟกัง (Wolfgang) เผอิญเขาเป็นสถาปนิกที่สนใจศิลปะภาพวาดบ้างเลยเข้าใจ ผมจำคลับคล้ายคลับคลาว่า ถ้าเป็นยี่ห้ออื่น อัตราส่วนเปรียบต่างที่วัดด้วยกรรมวิธี Full on Full off จะอยู่ที่ 2000:1 แต่เมื่อวัดด้วยวิธี ANSI Contrast Ratio แล้วค่า ANSI Contrast Ratio ของลีเซกังจะอยู่ประมาณ 130:1 เท่านั้น

รูปที่ 3 แพทเทอร์นที่ฉายเพื่อหาค่าอัตราส่วนเปรียบต่าง ANSI Contrast Ratio ที่มีแพทเทอร์นแบบตารางหมากรุก

     ตอนเขียนบทความนี้ผมได้เข้าไปดูเว็บไซต์ของลีเซกังอีกครั้ง ปรากฏว่าไม่มีการแจ้งอัตราส่วนเปรียบต่างเป็น ANSI Contrast Ratio อีกแล้ว มีแต่ Full on Full off ทั้งหมด

     ปัจจุบันผมเห็นว่า โปรเจคเตอร์ทุกยี่ห้อล้วนใช้ อัตราส่วนเปรียบต่างแบบ Full on Full off ทั้งสิ้น แต่ที่เขียนถึงมาตรฐานการวัดอื่นๆเข้ามาด้วย ก็เพื่อปูพื้นให้ผู้สนใจ ให้ตระหนักว่า เขามีกรรมวิธีกันอย่างไร

      ตอนต่อไปจะกล่าวว่า Contrast Ratio ไปกระทบอะไรต่อภาพ TI ( Texas Instruments เจ้าของสิทธิบัตร DLP และ 3LCD ) เข้ามาเล่นอัตราส่วนเปรียบต่างให้สูงขึ้นกันอย่างไร และตอนจบ ขอเดาว่าที่ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านแปลคำว่า Contrast เป็นภาษาไทยนั้นน่าจะมาจากสาเหตุอะไร ทำให้ผู้อ่านสับสนจนหลายคนนำมาเป็นเรื่องใหญ่โตกันจนเลอะเทอะไปหมด

หมายเหตุ      ภาพแพทเทอร์น ANSI Contrast Ratio ที่โชว์นั้น เขียนขึ้นจากความจำของผมเมื่อกว่า 10 ปีมาแล้ว แต่เมื่อเช็คกับภาพที่เครื่อง Test Genation ของ EXTRON รุ่น VTG 400 clf’ปรากฏว่าของเขาไม่มีเส้นทแยงมุม เนื่องจาก VTG 400 มีราคาสูงมากๆหากผู้อ่านอยากได้แพทเทอร์นพวกนี้ท่านสามารถเขียนขึ้นมาใช้เอง (น่าจะเซฟจากหน้าจอได้)
นายตาถั่ว คลำช้าง



 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231