เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
   
 
 
ด้านหน้า / หลังของเลนส์ฉายภาพ

     

     เมื่อประมาณ 30 ปี มาแล้ว ผมได้รับการทาบทามให้ส่งบทความไปลงในนิตยสารเกี่ยวกับการถ่ายภาพฉบับหนึ่ง (ถือว่าเป็นนิตยสารด้านถ่าย
ภาพ ที่มีจำหน่ายเป็นรายแรกของประเทศไทย) ผมเลยเขียนเรื่องการทำงานของเครื่องฉายสไลด์ส่งไป
     เมื่อท่านบรรณาธิการได้อ่านต้นฉบับ ท่านหัวเสียมากเพราะไปขัดแย้งกับความเชื่อของท่านชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ ท่านเลยปฏิเสธที่จะลง
พิมพ์ในนิตยสารที่ท่านเป็นบรรณาธิการอยู่ ซึ่งก็ถูกใจผม เนื่องจากนิสัยของผมคือ ชอบพูดความจริงที่ขัดต่อความเชื่อของคนไทย
ทั่วไป เพื่อให้คนฟังโกรธแล้วพูดว่าผมกลับ
     แม้บทความนั้น จะเป็นบทความชิ้นแรกที่ผมได้เคยเขียนขึ้น ผมไม่เคยส่งบทความชิ้นนั้นไปเผยแพร่ที่ใด จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์คล้าย ๆ
กันนี้กับผมอีกครั้ง เลยทำให้ผมหวนกลับมาเขียนใหม่ เฉพาะส่วนที่เป็นปัญหา
     เรื่องของเรื่องคือ ในเครื่องฉายภาพนั้น แสงที่ส่องไปที่แผ่นภาพ (เช่นแผ่นสไลด์ในเครื่องฉายสไลด์) จะต้องผ่านเลนส์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า
เลนส์ควบแน่น (Condensing lens) แต่ปัจจุบันเลนส์ควบแน่นชิ้นหนึ่งได้ถูกเปลี่ยนไปใช้จานสะท้อนแสงแทน เหตุผลของการใช้เลนส์ควบ
แน่นผมขอไม่อธิบายถึงในตอนนี้ เพราะต้องการให้เรื่องกระชับนิดหน่อย
     ผมหวังว่าผู้อ่านยังจำได้ว่า สมัยที่เรียนชั้นมัธยมต้น เลนส์นูนจะรวมแสงไปที่จุดโฟกัส ซึ่งเข้มข้นขนาดรวมแสงอาทิตย์ให้สามารถจุดกระดาษ
ให้ติดไฟได้ ดังนั้นอีกชื่อหนึ่งของเลนส์นูน คือ เลนส์ควบแน่น
     ผมมั่นใจว่าบรรณาธิการท่านนั้นต้องเคยเรียนเรื่องนี้ แต่ไม่ใส่ใจ เพราะท่านจบการศึกษาระดับอนุปริญญา สาขาวิจิตรศิลป์ ซึ่งอย่างไรเสีย
ก็ต้องผ่านการเรียนระดับมัธยมต้นที่มีการสอนเรื่องนี้ แต่ความที่คนทั่วไป ในตอนนั้นเรียกเลนส์ชนิดนี้ว่าเลนส์เกลี่ยแสง (ไม่ทราบว่าปัจจุบัน
คนส่วนใหญ่ยังคงเรียกว่า เลนส์เกลี่ยแสงอยู่หรือเปล่า) การที่ผมดันเรียกว่าเลนส์ควบแน่นจึงขัดกับความเชื่อของท่านแน่นอน
     อีกตอนหนึ่งที่ท่านหัวเสียเพิ่มกำลังสองก็เมื่อพบว่าผมอธิบายว่า ด้านที่เราเห็นเลนส์ฉายคือ ด้านหลังของเลนส์ ท่านหาว่าผมบ้าไปแล้วหรือ
ในเมื่อเห็นชัด ๆ ว่าอยู่ด้านหน้าของเครื่องฉายภาพ แล้วจะเป็นด้านหลังได้อย่างไร
     นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราเรียนเกี่ยวกับเลนส์นูน และเลนส์เว้า ว่าแสงที่ส่องผ่านเลนส์นูนนั้นจะหักเหรวมเป็นจุดโฟกัสที่หลังเลนส์ ส่วนแสงที่
ส่องผ่านเลนส์เว้านั้นจะบานออก หากเราตีเส้นของแสงที่บานออก ให้ย้อนกลับมา (ส่วนใหญ่เขียนภาพบรรยายด้วยเส้นประ) แสงจะรวมกันที่จุด
โฟกัสหน้าเลนส์

     หากเราสรุปตามนี้ ด้านที่แสงเข้า คือด้านหน้าเลนส์ ส่วนด้านที่แสงออก คือด้านหลังเลนส์ดังนั้นด้านที่เราเห็นเลนส์ของเครื่องฉายภาพซึ่ง
เป็นด้านที่แสงออก จึงถือว่าเป็นด้านหลังเลนส์ ส่วนเลนส์ของกล้องถ่ายรูปนั้น ด้านที่เราเห็นเลนส์เป็นด้านที่แสงเข้า ในกรณีนี้ด้านที่เราเห็นเลนส์
จึงเป็นด้านหน้า

     มีเรื่องที่เข้าใจผิดคล้าย ๆ กันนี้ แต่เป็นเรื่องพระราชวังรามราชนิเวศ ที่จังหวัดเพชรบุรี ที่นิตยสารอาษา (ASA) ซึ่งเป็นนิตยสารของสมาคม
สถาปนิกสยาม ลงภาพพระราชวังนี้โดยลงภาพถ่ายด้านที่หันหน้าสู่ถนนแล้วบอกว่าเป็นด้านหน้าของพระราชวัง
     วันหนึ่งผมขับรถผ่านจังหวัดเพชรบุรี พร้อมกับเจ้าของร้าน 4th Dimension ซึ่งเป็นสถาปนิกผมเอารถไปจอดบนสะพานข้ามแม่น้ำเพชร
แล้วชี้ลงไปที่พระราชวังรามราชนิเวศ ให้เจ้าของห้างฯ 4th Dimension ดู
     ผมบอกเขาว่าด้านหน้าของพระราชวังหันหน้าสู่แม่น้ำเพชร ดังนั้นถนนที่ตัดมาที่พระราชวัง จึงมาทางด้านหลัง แต่คนเขียน ซึ่งผมเชื่อว่า
ต้องเป็นสถาปนิกด้วย คงนั่งรถเข้ามาแล้วเห็นด้านนั้นก่อนจึงรีบสรุปว่าเป็นด้านหน้า
     เหตุที่ผมรู้ก็เพราะบ้านยายของผมอยู่ที่ตำบลหวายเหนียว อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ทั้งบ้าน และวัด ต่างหันหน้าเข้าสู่แม่น้ำทั้งสิ้น
ถ้ามาทางถนนรถจะเข้าทางด้านหลัง
     ที่ว่าการอำเภอท่ามะกาเดิมนั้นอยู่คนละฝั่งแม่น้ำที่บ้านยายของผมตั้งอยู่ ก็หันหน้าเข้าสู่แม่น้ำเช่นกัน ซึ่งหากมาตามถนนจะเข้าทางด้านหลัง
อำเภอ ปัจจุบันอำเภอย้ายออกไปปลูกติดถนนหลวงแล้ว เพื่อความสะดวกของผู้มาใช้บริการ
     ทั้งเลนส์ฉายภาพ และพระราชวังรามราชนิเวศนั้นมีความคล้ายกันคือ ด้านที่คนมองเห็นครั้งแรกมักถูกทึกทักเอาว่าเป็นด้านหน้าเสมอ โดย
ลืมนึกถึงความถูกต้อง ส่วนบทความชิ้นแรกของผมที่ถูกบรรณาธิการนิตยสารถ่ายภาพปฏิเสธก็เหมือนกับเหตุการณ์ที่สมาคมหนึ่งลบ Link เข้า
สู่บทความความรู้ของผม เพราะเห็นว่าไปขัดแย้งกับความเชื่อของพวกเขา

     
     
    นายตาถั่ว  คลำช้าง
     
     
 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231