คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน2
  ประวัติโปรเจคเตอร์ VDO/Computer
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน1
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  เตรียมตัวก่อนเลือก
ซื้อโปรเจคเตอร์
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
   
 
 
เปรียบต่าง (Contrast) ตอน 1

     

มีผู้ที่ติดตามบทความของผมหลายรายขอให้อธิบายคำว่า Contrast ที่ผมบอกว่าหนังสือศัพท์วิทยาศาสตร์ อังกฤษ-ไทย ไทย-อังกฤษ
ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้แปลเป็นไทยว่า เปรียบต่าง

ตอนนี้ผมยังไม่ค่อยอยู่ในอารมณ์ที่จะเขียนเรื่องนี้เท่าไหร่ เพราะยังหาช่างศิลป์มาร่วมงานไม่ได้ ดังนั้นผมจะค่อย ๆ แพลมออกมาทีละนิด
ทีละหน่อยไปพลาง ๆ ก่อน

ในบทความนี้ผมขออารัมภบทยาว ๆ หน่อย คือว่าตัวผมเองไม่ชอบคำว่า เปรียบต่าง มันฟังทะแม่งนิด ๆ แต่ยังหาคำอื่นที่เหมาะกว่านี้ไม่ได้เลย
จำต้องใช้ไปก่อน บางทีพอใช้ไปนาน ๆ อาจจะชินก็ได้

ผมรู้ว่าใครเป็นคนเสนอคำนี้ เพราะอยู่ในแวดวงถ่ายภาพเหมือนกัน โดยคณะทำงานท่านหนึ่งที่ผมรู้จัก เหมือนกัน รู้สึกภูมิใจมากที่คำบางคำ
ที่เขาเสนอเข้าไปนั้นก็ได้รับการยอมรับ

ท่านผู้นี้ยังได้ชวนผมให้เข้าร่วมประชุมด้วย แต่ผมละอายใจตรงที่ ผู้ที่จะมาทำหน้าที่นี้ต้องมีความรู้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์
ภาพถ่ายเป็นอย่างดีเยี่ยม ขณะที่ผมยังไม่มั่นใจว่าตัวเองมีคุณสมบัติครบหรือเปล่า

ในแวดวงถ่ายภาพในสมัยที่ยังนิยมถ่ายและขยายภาพเป็นภาพขาว / ดำ จะต้องดูความ เปรียบต่าง เป็น โดยเฉพาะภาพที่ถ่ายมืดไป
(under exposed) ค่า เปรียบต่างจะต่ำ ส่วนภาพถ่ายที่สว่างไป(over exposed) ค่า เปรียบต่างจะสูง

ดังนั้นคนที่ขยายภาพจะต้องแก้ให้ภาพมีค่า เปรียบต่างให้อยู่ในระดับพอดี โดยการเลือกกระดาษอัดรูปที่มีจำหน่ายนั้นมีค่า เปรียบต่าง
3-4 ระดับ หรือแก้ด้วยน้ำยาล้างรูป

อีกกลุ่มหนึ่งคือ โรงพิมพ์ เพราะต้องเอาภาพที่ถ่ายมาทำบล็อกพิมพ์ ซึ่งจะเกิดปัญหาว่าการเอาภาพที่ความ เปรียบต่าง พอดีมาพิมพ์โดยตรง
ภาพที่พิมพ์ออกมาจะมีความ เปรียบต่างต่ำลงระดับหนึ่ง ดูไม่สวย และแบน

จึงมีอาชีพอีกกลุ่มหนึ่งที่รับ อัด / ขยายภาพ ให้มีความ เปรียบต่างสูงขึ้น ในระดับที่เมื่อพิมพ์ออกมาแล้ว ภาพจะมีความ เปรียบต่างพอดี
ธุรกิจประเภทนี้มักเรียกว่า ทำโบรไมด์ ตามความเข้าใจของผม กระดาษอัด / ขยายรูปทั่วไปใช้เคมี Silver Nitrate และมีกระดาษอัด /
ขยายรูปอีกพวกหนึ่งใช้ Silver Bromide ซึ่งเมื่ออัด / ขยาย แล้วภาพจะมีความ เปรียบต่าง สูงขึ้น

ปัจจุบันภาพขาวดำแทบไม่มีเหลือแล้ว และภาพถ่ายด้วยฟิล์มสีเวลาอัดเป็นภาพก็แก้ความ เปรียบต่าง ไม่ได้ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้คนทั่วไป
ไม่รู้จักคำ ๆ นี้ เช่นเดียวกับโรงพิมพ์ สมัยก่อนเราต้องเอาภาพไปแกะบล็อก แต่ปัจจุบันเราเอาภาพเข้าเครื่องสแกนฯ เพื่อทำเพลทพิมพ์เลย

เป็นที่น่าสังเกตว่าภาพสีเมื่อสแกนเป็นเพลทแล้วนำมาพิมพ์จะไม่มีปัญหาเรื่องความ เปรียบต่าง แต่ภาพขาวดำยังคงเป็นปัญหาอยู่
ซึ่งผมไม่ทราบถึงปัญหาที่แท้จริง

สิ่งพิมพ์ขาวดำยังคงมีปัญหาด้าน เปรียบต่าง แท้จริงแล้วน่าจะแก้ได้ด้วยโปรแกรม PhotoShop แต่คนทำเพลทคงดูไม่เป็นและไม่มีความรู้
เลยปล่อยให้นำภาพที่มีความ เปรียบต่างพอดีไปตีพิมพ์ แต่เมื่อทำเป็นเพลทแล้วพิมพ์ออกมาความ เปรียบต่างจะต่ำเกินไป

สำหรับคนทั่วไปน่าจะมีความรู้ดีเรื่อง เปรียบต่าง โดยเฉพาะผู้ผลิต และขายเครื่องรับโทรทัศน์ น่าจะยิ่งรู้ดีเข้าไปใหญ่ ทั้งนี้เพราะเครื่องรับ
โทรทัศน์ทุกเครื่อง ตั้งแต่สมัยโทรทัศน์ยังเป็นภาพขาว / ดำ จนถึงภาพสีในปัจจุบัน ล้วนมีปุ่มปรับค่า เปรียบต่างทั้งสิ้น

เมื่อมาถึงยุคโพรเจคเทอร์ แรก ๆ ก็ไม่มีใครพูดถึง เปรียบต่าง จนกระทั่ง TI (Texas Instrument) เจ้าของสิทธิบัตร DMD และ DLP
โหมเผยแพร่คำว่า Contrast Ratio ทั้งนี้เพราะ DLP จะมีสัดส่วน เปรียบต่าง สูงกว่า LCD ที่เป็นคู่แข่ง ทำให้หลายคนให้ความสนใจ
ต่อความ เปรียบต่างแต่ไม่เข้าใจความหมาย

มีบริษัทลูกจากญี่ปุ่นในประเทศไทยที่นำเข้าโพรเจคเทอร์หลายราย แปลความหมายคำว่า Contrast นี้ผิด สำหรับผู้อ่านหากติดตามบทความ
ของผมจนถึงตอนท้าย และถ้าผมไม่ลืม ผมจะเฉลยว่าการแปลเป็นภาษาไทยผิดนั้นน่าจะมาจากเหตุผลอะไร (ที่บอกว่าตอนสุดท้ายต้องรวมถึง
บทความเรื่องสัดส่วน เปรียบต่าง ด้วย เพราะเป็นคนละเรื่องเดียวกัน)

ตอนต่อไปผมจะยกตัวอย่างภาพที่มีค่า เปรียบต่างสูงเป็นอย่างไร และค่า เปรียบต่างต่ำเป็นอย่างไร



นายตาถั่ว คลำช้าง

     
    นายตาถั่ว  คลำช้าง
     
     
 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231