จากบทความในครั้งที่แล้วเรื่อง Rule of Sixth ผมได้กล่าวถึง Screen Door Effect ผมเห็นว่าไม่ใช่เรื่องยากที่จะทดสอบว่าจะต้องดูห่าง
จากจอภาพเท่าไหร่ถึงจะไม่เห็น Screen Door Effect
แต่จากสถิติของผม ผู้ที่กำลังหาซื้อโพรเจกเทอร์แทบทุกรายไม่เคยทราบเรื่องนี้ จนกระทั่งผมชี้ให้พวกเขาดู หลังจากนั้นพวกเขาก็ถือเป็น
ปัญหาใหญ่โตขึ้นมาทันที
ที่ ๆ ผมมีโอกาสพบผู้ที่กำลังหาซื้อโพรเจกเทอร์ก็คือ ห้างฯ 4 th Dimension บนชั้น 3 ของพันธ์ทิพย์พลาซาซึ่งผมมักแวะไปช่วงบ่ายแก่ ๆ
ที่ ๆ นั่นค่อนข้างคับแคบ หากมีการสาธิตเครื่อง ผู้ซื้อจะนั่งค่อนข้างชิดจอสำหรับจอสำหรับภาพฉาย ทำให้เห็น Screen Door Effect ได้ชัด
เจน
ผู้ซื้อสามารถเห็นว่าภาพที่มีความละเอียดสูงมากขึ้นเท่าไหร่แก็ปที่เป็นช่องว่างระหว่างพิกเซลจะยิ่งแคบเข้าเท่านั้น หมายความว่ายิ่งเห็น
Screen Door Effect ได้ยากขึ้น
ไม่เพียงเท่านั้นโพรเจกเทอร์ที่ใช้เทคโนโลยีสร้างภาพแบบ LCD จะเห็น Screen Door Effectได้ชัดเจนกว่าโปรเจคเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยี
สร้างภาพแบบ DLP
คำแนะนำของผมคือ ถ้าจะซื้อโพรเจกเทอร์เพื่อใช้ในโรงเรียน หรืองานพรีเซนเทชัน Screen Door Effect จะไม่ใช่ปัญหาเลย
ประการแรก ผู้ชมมักนั่งห่างจากจอฯ พอสมควรจึงไม่เห็น Screen Door Effect และเท่าที่ผมสอบถามผู้ชมที่นั่งแถวหน้า ใกล้จอในระยะ
ที่สามารถเห็น Screen Door Effect ได้ค่อนข้างชัดเจน ปรากฏว่าไม่มีใครสังเกตเห็น เพราะมัวแต่ใจจดใจจ่อกับเนื้อหาสาระ (Content)
ที่ปรากฏบนจอฯ
สำหรับผู้ที่จะซื้อโพรเจกเทอร์สำหรับชมภาพยนตร์เป็นหลัก แต่มีเงินไม่พอที่จะซื้อโพรเจกเทอร์ ที่ออกแบบเพื่องานโฮมเธียเทอร์โดยเฉพาะ
เลยต้องลดระดับลงมาซื้อโพรเจกเทอร์ เพื่องานสอน/พรีเซนเทชันแทน ซึ่งมีราคาถูกกว่า ผมจะแนะนำให้เขาเลือก DLP
ทั้งนี้เพราะบางคนนั้นแรก ๆ อาจต้องทนต่อ Screen Door Effect แต่ต่อไปจะค่อย ๆ เริ่มชิน แล้วเลิกบ่น แต่บางคนยิ่งนานวันยิ่งหงุด
หงิด เพื่อตัวปัญหานี้หากเลือก DLP ให้รู้แล้วรู้รอดไป น่าจะเป็นการตัดสินใจที่ดีกว่า
สำหรับผมนั้น Screen Door Effect ไม่ใช่ปัญหา เวลาไปเที่ยวสวนสัตว์ ซี่กรงที่ขังสัตว์ก็ไม่ใช่ปัญหา ผมจะใจจดใจจอต่อ คอนเทน และ
ไม่ใส่ใจต่อ Screen Door Effect
ดังนั้นเวลาแนะนำโพรเจกเทอร์ให้กับลูกค้า ผมจะให้น้ำหนักต่อภาพที่มีสีที่ถูกต้อง สดใส และภาพคมเสมอทั่วจอ โดยไม่นำ Screen Door
Effect มาเป็นประเด็นใหญ่ |