ขึ้นชื่อหัวเรื่องเป็นภาษาอังกฤษ อย่างนี้คงหาคนอ่านที่พอจะเดาได้ยาก แต่ที่ผมไปฟังการอภิปราย โดยบรรณาธิการ 7 ท่าน เมื่อวันเสาร์ที่ 1
ธันวาคม 2550 ทำให้ผมได้หัวข้อที่จะนำมาลงในบทความไปพราง ๆ ก่อน
ที่ว่าต้องเขียนไปพราง ๆ ก่อนก็เพราะผมยังหาช่างศิลป์มาช่วยเขียนไดอะแกรมประกอบบทความไม่ได้ อาจเป็นเพราะผมจู้จี้หลายเรื่องเลย
หาคนที่ถูกใจไม่ได้
ในช่วงท้าย ๆ ของการอภิปรายเรื่อง จอ LCD / พลาสมา มีบรรณาธิการท่านหนึ่งพูดว่า การดูภาพผู้ดูต้องนั่งให้ห่างจากจอไม่น้อยกว่า 6 เท่า
ของความสูงของจอแล้วจะไม่เห็นแก็ประหว่างพิกเซล ที่ฝรั่งเรียกว่าประตูมุ้งลวด (Screen Door Effect)
หลักการนี้ไม่น่าจะใช่ เพราะหากจอ LCD / พลาสมา มีความละเอียดสูงขึ้นเท่าไหร่ ช่วงแก็ปก็จะแคบลงจนมองเห็นลำบาก ดังนั้นการ
กำหนดระยะชมเพียงอย่างเดียวยังไม่พอ ผมจึงคิดว่ากฎนี้ไม่น่าจะถูก แต่มีกฎหนึ่งตั้งขึ้นโดยบริษัทโกดัก ว่าจอสำหรับภาพฉายต้องมีความสูง
ไม่น้อยกว่า 1 ใน 6 ของที่นั่งชมแถวหลังสุด
ความจริงน่าจะเรียกว่า Rule of One Sixth ซึ่งแปลว่ากฎของ 1/6 แต่ที่เขาตัดคำว่า One ออกไปอาจเหมือนคนไทยที่ชอบพูด หนึ่งร้อย
อย่างสั้น ๆ ว่า ร้อย โดยตัดคำว่าหนึ่งออกไป นี่เป็นการเดาของผมนะครับ
กฎนี้มีไว้เพื่อกำหนดขนาดของตัวอักษรที่ฉายไปบนจอฯ แล้วคนที่นั่งอยู่แถวหลังสุดสามารถอ่านตัวอักษรที่ฉายด้วยเครื่องฉายสไลด์ออก
กฎนี้รวมไปถึงขนาดของอาร์ตเวิร์ค ( art work) คือภาพต้นแบบสำหรับใช้ถ่ายเป็นสไลด์ ต้องมีขนาดเท่าไหร่ผมไม่ได้สนใจจำ สำหรับ
ตัวอักษรก็ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่ากี่ Point ผมก็ไม่ได้สนใจที่จะจำเช่นกัน ทั้งนี้ก็เพราะคนไทยเราไม่ได้ออกแบบห้องเรียน หรือห้องประชุม
ให้ตรงตามกฎ Rule of Sixth
มาบัดนี้ผมเห็นช่องทางแปลงกฎ Rule of Sixth ให้เป็น Rule of Any Ratio ได้โดยไม่ต้องสนใจว่าความสูงของจอสำหรับภาพฉายจะมี
สัดส่วนเป็นเท่าไหร่เมื่อเทียบกับระยะห่างของที่นั่งแถวหลังสุด
เผอิญผมยังหาช่างศิลป์มาร่วมงานกับผมไม่ได้ ผมเลยเพียงแค่เกริ่นให้ฟังอย่างคร่าว ๆ เมื่อมีช่างศิลป์แล้วผมจะอธิบายเพิ่มเติมอีกว่าตามกฎ
Rule of Sixth นั้นยังมีการกำหนดแถวหน้าของผู้ชมว่าต้องห่าง ๆจากจอฯ เท่าไหร่ด้วย
|