ความน่าสงสัยในโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์
  การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพ
  แนวโน้มโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ. 2561
  สีตอน 2
  เลนส์ซูมแท้ไม่แท้
  TV Line
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน2
  ประวัติโปรเจคเตอร์ VDO/Computer
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน1
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  เตรียมตัวก่อนเลือก
ซื้อโปรเจคเตอร์
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
   
 
 
โปรเจคเตอร์จอกว้าง

     

     โปรเจคเตอร์จอกว้าง ไม่ใช่ของใหม่ โปรเจคเตอร์จอกว้างมีมานานมากพอสมควรในเซคเมนท์
โฮมเธียร์เตอร์ เพื่อรองรับวีดีโอในมาตรฐาน DVD ที่ภาพมีจำนวนจุดภาพ 1280 x 720 พิกเซล
     ในตอนนั้นโปรเจคเตอร์สำหรับโฮมเธียร์เตอร์แทบทั้งหมดใช้เทคโนโลยี DLP และมีความสว่าง
อยู่ในช่วง 700 ANSI ลูเมน เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะโปรเจคเตอร์สำหรับโฮมเธียร์ต้องการสีที่ถูกต้อง
มากกว่าความสว่างแบบไดนามิก
     เมื่อมาตรฐาน HDTV ได้ข้อยุติว่าจอภาพมีอัตราส่วน 16 : 9 (ความจริงอัตราส่วนจอภาพ HDTV ได้มีการตกลงว่ามีไว้ที่  16 : 9 ก่อน DVD) แล้วโปรเจคเตอร์ในระดับโฮมเธียเตอร์ใน
ปัจจุบันเริ่มมีความสว่างสูงขึ้นถึงระดับ 1200 ANSI ลูเมน
     แต่โปรเจคเตอร์จอกว้างในปัจจุบันที่ผมเขียนถึงนี้เจาะจงไปที่โปรเจคเตอร์สำหรับงานธุรกิจ ที่
เน้นความสว่างแบบไดนามิค คือมีความสว่างประมาณ 1800 ANSI ลูเมนขึ้นไป  ตัวเครื่องจะเล็ก
กว่าโปรเจคเตอร์สำหรับโฮมเธียร์เตอร์ และราคาถูกกว่าพอสมควร (เดี๋ยวนี้โปรเจคเตอร์สำหรับ
โฮมเธียร์เตอร์ที่มีความละเอียดระดับ DVD คือ 1280 x 720 พิกเซลก็เริ่มมีราคาถูกลงมามาก
เหมือนกัน)
     โปรเจคเตอร์จอกว้างสำหรับธุรกิจที่ขนาดภาพมีอัตราส่วน 16 : 9 เริ่มมีวี่แววว่าจะได้รับความ
นิยมสูงขึ้น หลังจากจอมอนิเตอร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิด LCD มีราคาถูกลงมาก คือต่ำกว่า
10,000 บาท ทำให้เริ่มมีจอ LCD ที่มีอัตราส่วน 16 : 9 แทรกเข้ามาในตลาดมากขึ้นเรื่อย ๆ หลัง
จากเดิมที่ใช้อัตราส่วน 4 : 3 เหตุที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะจอฯ ชนิด LCD สามารถผลิตในอัตรา
ส่วน16 : 9 ได้ง่ายกว่า และถูกกว่าชนิด CRT
     ตอนนั้นผมเริ่มพูดกับลูกน้องว่าไม่มีอะไรเที่ยงแท้ สักวันหนึ่งจอมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์
จะมีอัตราส่วน 16 : 9 และจะมีผู้นิยมมากขึ้นจนอาจกลายเป็นมาตรฐานใหม่แทนอัตราส่วน 4 : 3
แบบดั้งเดิม

   

           เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน๊ตบุ๊คเริ่มทะยอยใช้จอฯ ที่มีอัตราส่วน 16 : 9 ผมจึงบอกลูกน้องว่าในที่สุดโปรเจคเตอร์สำหรับธุรกิจ
ก็จะมีอัตราส่วน 16 : 9 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อ Mitsubishi แนะนำรุ่น WL639U เมื่อกลางปี พ.ศ. 2550 รวมทั้งมั่นใจว่า Sony
ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผง LCD ให้กับ Mitsubishi ก็จะต้องมีรุ่นของตนเองที่ใช้แผงภาพมีอัตราส่วน 16 : 9 และสว่างไม่น้อยกว่า 2000 ANSI
ลูเมน ออกจำหน่าย ซึ่งก็เป็นไปตามคาด
           ขอได้โปรดสังเกตว่าจอมอนิเตอร์ชนิด LCD สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้มีอัตราส่วน 16 : 9 จริง เพราะมีจำนวนจุดเป็น
1280 x 768 แล้วเรียกว่า WXGA หากคิดเป็นอัตราส่วนจะใกล้เคียงกับ 16 : 10
           การที่จอมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์มีจำนวนจุดภาพ 1280 x 768 น่าจะมาจากผู้ผลิตต้องการให้ใช้ร่วมกับภาพที่มีความ
ละเอียด 1024 x 768 พิกเซล (XGA) เช่นใช้กับ Power Point เดิม ๆ ที่มีอัตราส่วน 4 : 3 ดังนั้นจอภาพที่มีจำนวนพิกเซล 1280 x 768
จึงสามารถเลือกว่าจะใช้อัตราส่วนของภาพ 4 : 3 หรือ 16 : 9 โดยไม่มีการบีบอัดพิกเซล
           ตอนที่ผมเขียนบทความเรื่อง Bright Era นั้นผมได้เกริ่นถึงโปรเจคเตอร์ Mitsubishi รุ่น WL639U ว่ามีความละเอียด
1280 x 800 พิกเซล จะมีประโยชน์อะไร ถ้าการตั้งค่าความละเอียดของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถตั้งได้ใกล้เคียงที่สุดเพียง 1280 x 768 พิกเซล ส่วนที่เกินจะไม่มีประโยชน์
          แต่หลังจากที่ผมเขียนบทความนั้นไม่นาน ผมได้นำโปรเจคเตอร์ Mitsubishi รุ่น WL639U จอกว้างไปสาธิตให้ลูกค้าที่นิคม-
อุตสาหกรรมอมตะฯ ที่ใกล้ตัวเมืองชลบุรี แต่ความที่เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คของผมที่มีจอกว้างก็จริง   แต่ไดรฟ์เวอร์สำหรับใช้กับสัญญาณ
คอมพิวเตอร์ปรับได้เพียงในอัตราส่วน 4 : 3 (ที่ผมได้เคยบอกว่าโดนคนขายต้ม บอกให้เลยว่ายี่ห้อ Gigabite ในซีรีส G Mark และผมได้
ซื้อโดยตรงจากผู้นำเข้า) ผมเลยต้องขอใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของลูกค้า
          ผมต้องแปลกใจมากเมื่อพบว่า เมื่อสาธิตเสร็จผมจึงไปสาธิตต่อที่ อ.ศรีราชา ในวันเดียวกัน  ปรากฏว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของลูกค้า
ทั้ง 2 ราย รายหนึ่งใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน๊ตบุ๊ค และอีกรายใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ต่างสามารถตั้งค่าความละเอียดได้ที่
1280 x  800 พิกเซล เท่ากับว่าเราสามารถใช้จำนวนพิกเซลของโปรเจคเตอร์ Mitsubishi รุ่น WL639U ได้เต็มพิกัด มีคนบอกผมว่าเกมส์
คอมพิวเตอร์อย่างของ Nintedo Sony และ Microsoft ต่างมีความละเอียด 1280 x 800 พิกเซล ผมไม่เคยเล่นเกมส์พวกนี้ จึงไม่ขอยืนยัน   และที่ไปสาธิตให้ลูกค้าดูนั้น ทั้ง 2 รายต่างขอให้เสนอโปรเจคเตอร์จอกว้างยี่ห้ออื่นไปเปรียบเทียบ ซึ่งตอนนั้นผมเสนอไปเป็นของ
BenQ และลูกน้องผมก็ช่วยเสนอ Toshiba และ Sony ซึ่งทั้ง 3 ยี่ห้อ หลังนั้นมีราคาถูกกว่า Mitsubishi เกือบครึ่งหนึ่ง แต่ของ Mitsubishi เหมาะกับความต้องการของลูกค้า ทั้ง 2 รายมากกว่า  จึงเลือก Mitsubishi
          คำแนะนำสำหรับผู้ที่คิดจะซื้อโปรเจคเตอร์จอกว้าง คือ ภาพที่ต้องการจะฉายควรมีสัดส่วนให้สมกับจอภาพคือภาพต้องเป็นขนาด
จอกว้างด้วยเช่นกัน อย่าง Power Point  ตอนผลิตโชว์ต้องตั้งค่า ขนาด ภาพ ให้เป็นภาพจอกว้าง (คำสั่งนี้อยู่ที่คำสั่ง Page setup ถ้าไม่มี
คำสั่งนี้ให้ตั้งขนาด ความกว้างและสูงให้ได้สัดส่วน 16:9 หรือ 16:10) สำหรับภาพวีดีโอ ท่านอาจต้องถ่ายทำใหม่ให้ภาพเป็นขนาดจอกว้าง
แต่ถ้าท่านถ่ายทำเอง กล้องถ่ายภาพวีดีโอรุ่นใหม่จะสามารถตั้งขนาดภาพให้เป็นจอกว้างได้ สรุปคือ ท่านต้องผลิตโชว์ใหม่หมดอีกครั้งให้ภาพ
เป็นจอกว้าง        
          กว่าผมจะลงบทความด้วยพยากรทิศทางโปรเจคเตอร์ที่พ.ศ. 2551 จนจบก็เสียเวลาไปกว่า 1ปี ต่อไปผมคงไม่เขียนบทความแบบ
นี้อีกแล้ว

 
 

นายตาถั่ว คลำช้าง

     
     
     
 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231