ความน่าสงสัยในโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์
  การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพ
  แนวโน้มโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ. 2561
  สีตอน 2
  เลนส์ซูมแท้ไม่แท้
  TV Line
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน2
  ประวัติโปรเจคเตอร์ VDO/Computer
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน1
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  เตรียมตัวก่อนเลือก
ซื้อโปรเจคเตอร์
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
   
 

การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพ


       มีบทความมากมายบนอินเทอร์เน็ต เกี่ยวกับการแบ่งประเภทของเครื่องฉายภาพ ซึ่งล้วนแล้วเกือบเหมือนกันหมด ซึ่งผมเข้าใจว่า เริ่มแรกคงมีใครสักคนเป็นผู้กำหนดประเภทเครื่องฉายภาพ เมื่อมีผู้อื่นมาอ่านเจอแล้วเห็นว่าเข้าท่าดี จึงนำไปใช้บ้าง หรืออาจมีบางคนเห็นว่าไหนๆก็ได้มีการแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพอยู่แล้ว เลยตะบี้ตะบันนำไปใช้บ้าง โดยไม่ต้องวิเคราะห์ว่าเหมาะสมหรือไม่
การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพที่นิยมแบ่งกันนั้น พวกเขาคงใช้วิธีสังเกตถึงความแตกต่างระหว่างเครื่องฉายแต่ละชนิด แล้วแยกออกเป็น 3 ระบบดังนี้

  1. ระบบฉายตรง (Direct Projection)
  2. ระบบฉายอ้อม (Indirect Projection)
  3. ระบบฉายสะท้อน (Reflected Projection)

     การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพแบบนี้ ผมเข้าใจว่าคงมีใครสังเกตว่าเครื่องฉายภาพแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ซึ่งในกรณีนี้พวกเขาคงจะพุ่งความสนใจไปที่ทางเดินของแสง แล้วพบว่าในเครื่องฉายสไลด์และเครื่องฉายภาพยนตร์นั้น ทางเดินของแสงที่เริ่มตั้งแต่หลอดฉายแสงจะพุ่งตรงไปยังฟิล์ม แล้วทะลุผ่านเลนส์ฉายไปจนถึงขึ้นจอภาพฉาย ซึ่งแสงจะเดินทางเป็นแนวตรง เขาจึงแยกออกเป็นระบบฉายตรง (direct projection) ขณะที่เครื่องฉาย Overhead projector จะมีกระจกเงาทำหน้าที่หักเหแสง เขาจึงแยกออกเป็นระบบฉายอ้อม (indirect projection)
     ส่วนระบบฉายสะท้อนนั้น เขาอาจจะหมายถึงเครื่องฉายภาพทึบแสงก็ได้ แต่มีเครื่องฉายทึบแสงอยู่ยี่ห้อหนึ่ง ที่ทำให้นักวิชาการโสตทัศนศึกษาหลายท่าน เข้าใจว่าเป็นเครื่องฉายตรง ซึ่งผมจะอธิบายเมื่อถึงตอนที่ผมแบ่งประเภทของเครื่องฉายภาพตามวิธีของผม

สำหรับผมนั้น ผมจะแยกระบบฉายภาพออกเป็น 4 แบบแต่ไม่เหมือนกับพวกเขาเสียทีเดียว ผมจะแยกประเภทของเครื่องฉายดังนี้
  1. ระบบฉายภาพจากแผ่นฟิล์มใส
  2. ระบบฉายภาพทึบแสง
  3. ระบบฉายภาพที่มีชุดสร้างภาพอยู่ภายในตัวเครื่อง ฉายฯ
  4. ระบบดูตรงไปยังแผงสร้างภาพ หรือหลอดภาพ



เครื่องฉายสไลด์ 35 มม.



เครื่องฉายแผ่นใส

เครื่องฉายภาพยนตร์




film loop projector technicolor

เครื่องฉายภาพต่างๆ ที่ต้นฉบับรูปภาพเป็นแผ่นใส

1. ระบบฉายภาพจากแผ่นฟิล์มใส


ทางเดินของเครื่องฉาย Overhead ก็เหมือนกับเครื่องฉายสไลด์ แสงออกจากเลนส์ฉายจะถูกสะท้อนกลับ 90 องศา

    ทั้งหมดมีพื้นฐานมาจากระเครื่องฉายสไลด์ (โปรดดูที่บทความคลิกที่นี้) ไม่ว่าจะเป็นเครื่องฉายภาพยนตร์หรือ เครื่องฉายสไลด์ หรือเครื่องฉาย Overhead ต่างก็ใช้ฟิล์มที่มีภาพที่ต้องการจะฉาย แม้เครื่องฉาย Overhead จะมีการหักเหแสง เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานก็จริง   ความแตกต่างของเครื่องฉายสไลด์และภาพยนต์คือ เครื่องฉายสไลด์จะฉายแบบแช่ภาพเดียวไว้นานๆ แต่ในภาพยนต์เขาจะเหมือนกับภาพสไสด์ ที่ต่อกันไป โดยไม่มีกาตัดออกเป็นภาพๆแล้วใส่กรอบ ทำให้ฟิลม์ภาพยนต์เป็นแผ่นฟิลม์ยาวๆ และจะเปลี่ยนภาพด้วยความเร็ว 24 ภาพต่อวินาที ซึ่งหากเป็นภาพที่มีการเคลื่อนไหว ภาพแต่ละภาพจะค่อยๆเปลี่ยนตำแหน่งเล็กน้อยไปเรื่อยๆ จนทำให้เวลาฉายดูทำให้เป็นภาพเคลื่อนไหว ซึ่งหากจะวิเคราะห์ตรงนี้ เมื่อเทียบกับเครื่องฉายสไลด์ก็ไม่ต่างกัน เว้นแต่เครื่องฉายภาพยนต์จะมีระบบกลไกลในการเปลี่ยนภาพที่เป็นฟิลม์ม้วน ซึ่งผมอาจจะเขียนบทความเรื่องนี้แยกออกต่างหาก แต่หลักการก็จะเหมือนกับเครื่องฉายภาพยนตร์ และเครื่องฉายสไลด์อยู่ดี
ความจริงแล้วผมก็กำลังจะเขียนเรื่องทางเดินของแสงในเครื่องฉาย Overhead อยู่พอดี โดยได้เริ่มเขียนเรื่องเลนส์ฟรีเนลก่อน เพื่อปูทางไปสู่การเขียนเรื่อง เครื่องฉาย Overhead Projector

2. ระบบฉายภาพทึบแสง

    ทำงานโดยส่องแสงไปยังวัสดุทึบแสงที่ต้องการจะฉาย เช่น สิ่งพิมพ์ให้สว่างจ้ามากๆ แล้วแสงจะสะท้อนจากวัสดุทึบแสงที่ต้องการจะฉายผ่านเลนส์ฉาย แล้วไปขึ้นจอภาพฉาย แต่วิธีนี้ภาพที่ฉายก็ยังจะมืดมากๆอยู่ดี
     ผมมีเกร็ดใหญ่ๆเกี่ยวกับเครื่องฉายภาพทึบแสงอยู่เรื่องหนึ่ง คือมีบริษัท PLUS ของประเทศญี่ปุ่น ที่เขาผลิตเครื่องฉายแผ่นใสที่ดี คือเขาสามารถแก้คีย์สโตนด้วย Optic (ความจริงบริษัทในประเทศเยอรมนีตะวันออกชื่อยูนีค ซึ่งในภายหลังประเทศเอรมณีตะวันออกมารวมกับประเทศเยอรมนีตะวันตกมารวมกันมาเป็นประเทศเยอรมณีเดียวกัน เขาก็มีเครื่องฉายแผ่นใสที่แก้คีย์สโตนด้วยระบบ Optics มาก่อน )





film strip projector

เครื่องฉายภาพทึบแสง


     ภายหลัง PLUS ก็ได้ผลิตเครื่องฉายภาพทึบแสง และใช้ชื่อสินค้าว่า Direct Projecter ผมเดาว่าเขาคงหมายถึง ถ้าจะฉายภาพจากสิ่งพิมพ์ด้วยเครื่องฉายแผ่นใส จะต้องนำต้นฉบับทึบแสงไปถ่ายด้วยเครื่องถ่ายเอกสารแบบ PPC (Plain paper copier) แต่แทนที่จะใส่แผ่นกระดาษเข้าไป ก็เปลี่ยนเป็นแผ่นใสเข้าไปแทน ดังนั้นถ้าฉายด้วยเครื่องฉายทึบแสง ก็ไม่ต้องผ่านกระบวนการนี้ เขาจึงน่าจะเรียกว่าเป็นเครื่องฉายชนิด Direct Projector และน่าจะเป็นสาเหตุให้นักวิชาการคนไทยจำนวนมากบอกว่า Direct Projecter เป็นอีกเทคโนโลยีที่ยอดเยี่ยม และทันสมัย

     ครั้งหนึ่งผมได้ไปเถียงกับนักวิชาการโสตทัศนศึกษา ที่เรียนจบปริญญาโทจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เขายืนยันอย่างมั่นคงว่า Direct Projecter ของ PLUS เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่ง ไม่ใช่เครื่องฉายภาพทึบแสง ผมก็ขอให้ท่านชี้แจงถึงความแตกต่างระหว่าง PLUS Direct Projecter กับเครื่องฉายภาพทึบแสงทั่วๆไป ท่านก็ไม่รู้จะตอบอย่างไร ก็ได้แต่บันดานโทสะ ทำเอาผมต้องรีบขอตัวกลับ

     เพราะเหตุที่ PLUS ใช้ชื่อเครื่องฉายภาพทึบแสงของเขาว่า Direct Projecter มั้ง ที่ทำให้นักวิชาการโสตทัศนศึกษาของไทยพากันออกมาแบ่งชนิดของเครื่องฉายภาพ ว่าเป็น “ระบบฉายตรง”




เทคโนลยีการสร้างภาพ CRT

เทคโนลยีการสร้างภาพ DLP

3. ระบบฉายภาพที่มีชุดสร้างภาพในตัว

    นั้นคือเครื่องฉายวิดีโอ/เครื่องฉายภาพจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีชุดสร้างภาพภายในตัวเครื่องฉาย ส่วนระบบแสงสว่างก็จะทำงานแบบเดียวกับเครื่องฉายฟิล์มใส (เว้นเทคโนโลยี CRT ที่สร้างทั้งภาพและแสงสว่างในชุดเดียวกัน แต่ปัจจุบันเทคโนโลยี CRT ได้เลิกผลิตแล้ว ซึ่งผมเข้าใจว่าสาเหตุใหญ่ๆ คงมาจากเรื่องความสว่างที่น้อยมากๆ)
เครื่องฉายแบบนี้เราใช้วิธีป้อนสัญญาณภาพจากภายนอก เข้าเครื่องฉาย ผ่านทางสายสัญญาณ ทำให้สะดวกต่อการติดตั้งและใช้งานเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถเชื่อมต่อระหว่างเครื่องส่งสัญญาณภาพ เช่น เครื่องเล่นวิดีโอ หรือกล้องถ่ายวิดีโอ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ จากที่ไหนก็ได้แล้วส่งสัญญาณภาพผ่านสายสัญญาณที่สามารถงอไปงอมาได้ สายสัญญาณภาพนั้น ปัจจุบันแทบไม่มีปัญหาเรื่องความยาวของสายสัญญาณ ที่แทบจะไม่จำกัด หรืออาจเปลี่ยนไปเป็นใช้เครื่องส่งสัญญาณไร้สายแทน แล้วต่อสายสัญญาณเข้าเครื่องฉายภาพชนิดนี้ ที่ปัจจุบันคนไทยเรียกว่า โปรเจคเตอร์ ทำให้สามารถติดตั้งเครื่องฉายภาพชนิดนี้ไว้ในตำแหน่งใดๆ ในห้องฉายก็ได้ตามต้องการ

ต่างจากเครื่องฉายฟิล์มใส ที่ผู้ฉายต้องคอยเอาฟิล์มภาพยนตร์ หรือฟิล์มสไลด์ไปป้อนเข้าเครื่องฉายด้วยมือ ดังนั้นเครื่องฉายภาพพวกนี้จึงต้องติดตั้งไว้ในห้องควบคุม จึงต้องเลือกเลนส์ฉายที่มีทางยาวโฟกัสให้เหมาะกับระยะทางจากเครื่องฉายถึงจอฯ และต้องคำนึงถึงขนาดของจอฯด้วย มิฉะนั้นจะต้องวางเครื่องฉายไว้หน้าห้อง แต่หากวางไว้กลางห้องต้องไม่ให้ใครนั่งบังเครื่องฉาย รวมทั้งเครื่องฉายไปบังคนที่นั่งแยู่ด้านหลังของเครื่องฉาย ทำให้ต้องลดจำนวนผู้ชมลง

ปัจจุบันเครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพโปร่งใส และเครื่องฉายภาพทึบแสง กลายเป็นของล้าสมัยไปหมดแล้ว เพราะแต่เดิมภาพสไลด์ต้องถ่ายทำจากกล้องถ่ายรูปที่ใช้ฟิลม์เปลี่ยนเป็นกล้องถ่ายรูปดิจิตอล ซึ่งภาพที่ถ่ายได้สามารถฉายขึ้นจอฯได้ทันที ไม่ต้องนำไปล้าง นำไปใส่กรอบ เช่นเดียวกันเครื่องฉายแผ่นใสก็สามารถใช้เครื่องฉายภาพวิดีโอ/เครื่องฉายภาพจากคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกันเราสามารถสร้างภาพ ฯลฯ จากโปรแกรมสนับสนุนการบรรยาย เช่น Power point และภาพกราฟฟิคอื่นๆ แทนการใช้เครื่องฉายแผ่นใส และยังเครื่องฉายภาพวีดีโอ/คอมพิวเตอร์ เมื่อเชื่อมต่อกับกล้อววิชัวไลเซอร์ ก็สามารถทำหน้าที่แทนเครื่องฉายภาพทึบแสง จึงทำให้ระบบฉายภาพรุ่นดั่งเดิม เช่น เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายแผ่นใส เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายภาพทึบแสง กลายเป็นของตกยุคและไม่มีใครใช้อีกเลย

แต่ก่อนเราเรียกเครื่องฉายภาพต่างๆนี้ว่า เครื่องฉายสไลด์ silpe projector เครื่องฉายภาพยนตร์ movie projector เครื่องฉายแผ่นใส (Over Head projector) เครื่องฉายภาพวีดิโอ (video projector) และ data projector แต่พอเราเริ่มมีเครื่องฉายภาพวีดิโอ/คอมพิวเตอร์ และเครื่องฉายระบบดั่งเดิมหายไปคนไทยเลยเรียกแค่ projector เฉยๆ ซึ่งในช่วงนั้นผมสับสนมากเวลามีคนมาถามซื้อโปรเจคเตอร์ ผมก็จะถามว่าโปรเจคเตอร์อะไร ซึ่งผมหมายความว่าจะซื้อ slide projector movie  video projector data projector เลยโดยลูกค้าสวนกลับว่าพวกเขาจะซื้อโปรเจคเตอร์ ผมก็เลยพอจะสรุปได้ว่าเขาจะซื้อเครื่องฉายภาพวีดิโอ/คอมพิวเตอร์ และปัจจุบันเวลาเราเรียกว่าโปรเจคเตอร์ เรามักเข้าใจว่าคือเครื่องฉายภาพวีดิโอ/คอมพิวเตอร์

ความจริงคำว่าโปรเจคเตอร์ไม่ได้หมายความเฉพาะเครื่องฉายภาพเท่านั้น แต่ยังหมายถึงไฟส่องสว่างที่เป็นลำแคบๆ เช่นไฟเวที spot light  ซึ่งเราจะเห็นว่าไฟ  spot light  ที่ติดตั้งในรถยนต์นั้น ปัจจุบันเขาก็เรียกว่าไฟโปรเจคเตอร์เหมือนกัน อีกทั้งลำโพรงเสียงที่เสียงพุงไปข้างหน้าในมุมแคบมากๆ เขาก็เรียกว่าลำโพงโปรเจคเตอร์เหมือนกัน




จอ LCD TV

จอภาพชนิด CRT

จอภาพชนิดที่ดูโดยตรง โดยไม่ต้องมีเครื่องฉาย

4. ระบบดูโดยตรงไปยังแผงสร้างภาพ หรือหลอดภาพ

    นั้นคือจอทีวี LCD และรวมทั้งจอ LED ซึ่งจอ LCD นี้เป็นตัวสร้างภาพแต่ไม่มีแสง จึงต้องมีแหล่งกำเนิดแสงอยู่ด้านหลังจอ LCD ปัจจุบันแหล่งกำเนิดแสงของจอ LCD จะใช้ LED เป็นตัวกำเนิดแสง ซึ่งรวมทั้งจอมอนิเตอร์ของคอมพิวเตอร์ และจอที่เราเห็นเป็นเม็ดๆ ส่วนมากจะเป็นจอขนาดใหญ่ และสามารถติดตั้งได้ทั้งกลางแจ้ง และในอาคาร ซึ่งจอ LED นี้มีแสงอยู่ในตัวและมีมุมมองเห็นที่กว้างมากกว่าจอ LCD

ปัจจุบันได้มีการใช้จอทีวีขนาดใหญ่แทนโปรเจคเตอร์ เนื่องจากสามารถสู้แสงสว่างภายในห้องได้ทุกสภาวะ โดยเฉพาะเมื่อผู้บรรยายต้องยืนอยู่ข้างๆจอฯ หรือต้องกระทำต่อจอฯในกรณีจออัจฉริยะ (Interactive display) เพราะตัวผู้บรรยายจะไม่บังทางเดินของแสงจากโปรเจคเตอร์ ที่จะทำให้เกิดเงาดำบนจอฯ และไม่เผลอปล่อยให้แสงจากโปรเจคเตอร์ส่องเข้าตา แต่ข้อด้วยของการใช้จอทีวีคือเคลื่อนย้ายไม่สะดวก และราคายังสูงอยู่มาก

ได้มีการทำนายก่อนหน้านี้มาหลายๆปีแล้ว ว่าระบบดูโดยตรงไปยังแผงสร้างภาพนี้จะมาทดแทนโปรเจคเตอร์ แต่ในปัจจุบันโปรเจคเตอร์วีดีโอ/คอมพิวเตอร์ ก็ยังขายได้ดี รวมทั้งมีการพัฒนาให้มีความละเอียดสูงขึ้น ความสว่างสูงขึ้น และสีที่สดใสถูกต้องมากขึ้น รวมทั้งราคาก็ถูกลงมาเยอะอีกมาก ทำให้เครื่องฉายวีดีโอ/คอมพิวเตอร์ ยังมีส่วนแบ่งในตลาดโสตทัศนูปกรณ์อยู่มาก


      ผมจะไม่บอกว่าวิธีการแบ่งประเภทของเครื่องฉายภาพของคนอื่นและผมของผมว่าของใครดีกว่า เพราะต่างคนต่างก็มีวิธีการ และวิธีคิดของตนเอง แต่ที่ผมเองมาเขียนเรื่องนี้ อย่างน้อยก็เพียงต้องการแสดงถึงวิธีการแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพตามวิธีของผม ที่ต่างจากผู้อื่น รวมทั้งเป็นการยืนยันว่า ผมไม่ชอบที่จะคิด ไม่ชอบที่จะพูดอะไรให้เหมือนคนอื่น ก็เท่านั้นแหละ แต่ก็ทำให้ถูกมองว่าเถียงกับใครต่อใครเขาไปทั่วเมืองไทยไปทุกเรื่อง

อย่างไรก็ตาม ผมขอตำหนิบทความแบบนี้ของผู้เขียนคนอื่นๆ ที่เป็นถึงนักวิชาการโสตทัศนศึกษา แต่ไม่มีภาพประกอบ ซึ่งควรเป็นวีธีหนึ่งของนักโสตฯที่ดี อย่างนี้ฝรั่งเขาบอกว่า what shame และไม่อธิบายให้ชัดเจนถึงการแยกประเภทฯ ทำให้ผู้อ่านจินตนาการไม่ได้ หรือจิตนาการไปกันคนละทิศคนละทาง ว่าพวกเขาหมายถึงอะไรกันแน่ เพระอย่างน้อยที่สุด พวกเขาก็น่าจะรู้ว่าภาพหนึ่งภาพสามารถแทนคำพูดได้เป็นพันคำ

  

 
 

 

 

นายตาถั่ว  คลำช้าง
(22 /05 /61)

 


 
 
 
ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์
81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100
โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231 email : sungsidh@gmail.com