ความน่าสงสัยในโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์
  การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพ
  แนวโน้มโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ. 2561
  สีตอน 2
  เลนส์ซูมแท้ไม่แท้
  TV Line
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน2
  ประวัติโปรเจคเตอร์ VDO/Computer
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน1
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  เตรียมตัวก่อนเลือก
ซื้อโปรเจคเตอร์
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
   
 
   
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
 
 

มีโสตทัศนูปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่สร้างความอัศจรรย์ใจให้กับผมอย่างมาก  ตรงที่มีช่องรับสัญญาณเพียบ  บางชนิดมีมากกว่า 1 ช่อง นั่นคือจอ
TV  LCD และ PDP(Plasma Display Panel) เฉพาะช่องรับสัญญาณภาพมี

 
  • RF
  • Composit
  • S-Video
  • Component
  • RGBHV
  • VGA
  • DVI
  • HDMI
  • USB
1.  RF (ดูรูปที่1) สัญญาณที่ต่อเข้าช่อง RF นี้  มักมาจากเสาอากาศ ผมไม่แน่ใจ
ว่าชื่อ RF นี้ถูกต้องแค่ไหน  เพราะคำว่า RF ย่อมาจาก Radio Frequncy(คลื่นวิทยุ)
และคลื่น RF นี้เป็นพาหะนำสัญญาณภาพ Composit และเสียงมาด้วย  เช่นเดียวกับ
คลื่นไมค์ฯไร้สาย เผอินคนที่ผมชอบถามเกี่ยวกับอีเลคทรอนิกส์แล้วมักได้คำตอบที่ถูก
ต้องเกือบทั้งหมด  ได้ย้ายไปอยู่กับน้องสาวที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว 


2. Composit (ดูรูปที่2) เป็นสัญญาณภาพวีดีโอแบบดั้งเดิม  ที่มีเฉพาะสัญญาณ
ภาพและยังใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน สัญญาณนี้ส่วนใหญ่มาจากกล้องถ่าย
วีดีโอและเครื่องเล่น/บันทึกภาพเป็น VCD  กับ DVD หรือ BlueRay

   

3. S-Video (ดูรูปที่3) เป็นสัญญาณที่ดีกว่า Composit พอสมควร  คนไทยไม่
นิยมใช้เพราะเกือบทั้งหมดไม่เข้าใจ  เมื่อไม่เข้าใจจึงต่อสายสัญญาณอย่างผิดวิธี  ภาพที่
ได้จึงไม่ดี  ช่างติดตั้งมักบอกลูกค้าว่าอย่าใช้ รวมทั้งมีสัญญาณภาพอย่างอื่นที่ดีกว่าให้ใช้
แทน  คนไทยเกือบทั้งหมดจึงไม่ใช้สัญญาณภาพชนิดนี้อีกแล้ว เว้นแต่มีลูกค้าของผม
รายหนึ่งที่ต้องการใช้ เพราะเขาต้องการต่อสัญญาณภาพจำนวนมากเข้าโปรเจคเตอร์ 
ดังนั้นการเพิ่มสัญญาณภาพ S-Video อีก 1 ช่องจึงเป็นเรื่องที่น่ายินดี

4. RGBHV(Red, Green, Blue, Horizontal Sync, Vertical Sync)
(ดูรูปที่4) เป็นสัญญาณที่ผมชอบใช้ เพราะสามารถใช้สายที่ใช้สื่อทองแดงที่มีขนาดใหญ่
ทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลโดยมีการสูญเสียคุณภาพน้อย  ผมเคยใช้  RGBS
(Red Green Blue Sync) กับช่องนี้แล้วยังใช้ได้  และน่าจะใช้  R GS B (Red
Green Blue Sync on Green)  กับช่องนี้ได้  ถ้าในสเปคของเขาบอกว่าใช้ได้  คน
ไทยส่วนใหญ่ไม่ยอมใช้สัญญาณ RGBHV เพราะรู้จักแต่ VGA แถมราคา
สาย RGBHV แพงกว่ามากและหาซื้อแทบไม่ได้  ต้องสั่งพิเศษ  รวมทั้งช่างติดตั้ง
เกือบทั้งหมดไม่มีความรู้ด้านน
ี้

5. Component  Video (ดูรูปที่2)ตามที่ผมเข้าใจ Component  ก็คือ RGB
แต่ระยะหลังคำว่าสัญญาณ Component  มักจะหมายถึงสัญญาณจากเครื่องเล่น DVD
ที่สัญญาณเป็น Y CbCr หรือไม่ก็ YPbPr  ซึ่งคล้าย ๆ กับสัญญาณ  Component 
Digital  โปรดสังเกตว่า ไม่มีสัญญาณสีเขียว(Green) แต่แทนที่สัญญาณ Y
(luminance) แทน

6. VGA (Video Graphic Array) (ดูรูปที่ 5) เป็นสัญญาณอนาล็อด  ที่ไม่ว่า
สัญญาณนั้นจะเป็น VGA SVGA(Super Video Graphic Array)   XGA
(Extended Graphic Array) ฯลฯ  แต่ช่องรับสัญญาณส่วนใหญ่ยังใช้ปลั๊ก HD sub
15 ขาเข็ม  ดังนั้นช่องนี้จึงยังเรียกว่า ช่องรับสัญญาณภาพ VGA สำหรับทุกความ
ละเอียด ไม่มีการเรียกช่องรับสัญญาณภาพ SVGA หรือ XGA ฯลฯตามที่ผู้เชี่ยวชาญ
จาก ม.เกษตรฯ ยืนยันเยาะเย้ยกับผมเป็นลายลักษณ์อักษร

 
   

7. DVI (Digital Visual Interface)  เป็นสัญญาณดิจิตอล  ต่อมามีการดัดแปลงให้รับสัญญาณ VGA ได้  โดยเพิ่มช่องสัญญาณ
อนาล็อดอื่น ๆ  อีก 4 ช่องและแก้ไขเฟอร์มแวร์ให้รับสัญญาณ VGA ได้  ช่องรับสัญญาณ DVI ที่รับเฉพาะสัญญาณดิจิตอลนี้ปัจจุบันเรียกว่า
DVI-D (ดูรูปที่ 6A) และช่องที่รับได้ทั้ง ดิจิตอล และอนาล็อค VGA ที่ปัจจุบันเรียกว่า DVI-I (ดูรูปที่ 6B) แล้วยังมีแบ่งเป็น Single Link
และ Dual Link อีกด้วย

8. HDMI (ดูรูปที่7) (High Definition Multimedia Interface)  เป็นสัญญาณ
ภาพดิจิตอลแบบเดียวกับ DVI แต่เพิ่มสัญญาณเสียงดิจิตอลเข้าไปด้วย  ทำให้สะดวก
และติดตั้ง ได้เรียบร้อย ปัจจุบันช่องรับสัญญาณ HDMI ค่อย ๆ เบียดช่องสัญญาณ
DVI  และมีโอกาศแทนที่อย่างเด็ดขาด

9. USB (ดูรูปที่8) (Universal  Serial  Bus) จอ LCD/PDP รุ่นใหม่ ๆ และ
ขนาดค่อนข้างใหญ่หน่อยขึ้นไป เริ่มมีช่องรับสัญญาณ USB เพื่อเล่นจากเครื่อง
เก็บข้อมูลอย่างฮาร์ดดิสก์ หรือ แฮนดี้ไดร์ฟ(บางคนก็เรียกว่าทั้มไดร์ฟ ฯลฯ)
    ผมชอบใช้ช่องนี้เพื่อทำงานแทน Photo Frame หรือ Digita  Signage ที่ใช้
โดด ๆ ไม่มีการพ่วงต่อทางเครือข่าย(network) และไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูล
บ่อย ๆ
หมายเหตุ  สัญญาณต่าง ๆ ที่ผมเขียนถึงนี้เป็นเพียงสังเขป  เพื่อให้ผู้อ่านที่ไม่เคย
ทราบพอที่จะแยกแยะได้  ผมไม่ลงไปถึงชนิดของสาย และ ปลั๊กตัวผู้  รวมทั้งเวอร์
ชั่นต่าง ๆของสัญญาณดิจิตอล เช่น DVI  HDMI  และ USB 

   ผมเชื่อว่าสัญญาณโทรทัศน์แบบคอมโพสิทที่มีมานานมากแล้วจะยังคงมีอยู่ต่อไป
อย่างน้อยก็ด้วยเหตุผลเพราะสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยและหลายแห่งทั่วโลกยัง
ใช้อยู่  แม้ผู้ซื้อโทรทัศน์ใหม่ ในประเทศสหรัฐอเมริกาแทบทุกรายจะยืนยันว่าต้อง
ใช้กับสัญญาณ HD TV(High Definition  Television)  และ  DTV(Digital TV)
ได้  เพราะที่นั่นเขาส่งสัญญาณเหล่านี้กันเกือบทั่วแล้ว  แต่ผมเชื่อว่ายังมีการส่ง
สัญญาณ RF คอมโพสิทยังอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ดี

  ขอแทรกตรงนี้นิดนึง ผมขอยืนยันว่าไม่มีการถ่ายทอดสัญญาณออกอากาศด้วย
S-Video (แต่บรรณาธิการด้านภาพระดับไฮเอนด์ท่านหนึ่ง ได้พูดอย่างชัดเจนใน
การเสวนาที่โรงแรมแอมบาสเซอร์สุขุมวิท  เมื่อปลาย พ.ศ. 2550 ว่า สถานีโทรทัศน์

ส่งสัญญาณออกอากาศเป็น Y/C ท่านคงไม่รู้ว่า Y/C คือ ซูเปอร์วีดีโอ (S-Video)  นี่
เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผมเปิดบทความเรื่องความรู้ที่เว็บไซท์นี้
        สัญญาณคอมโพเน้นเริ่มกลับมามีบทบาทมากขึ้น  เมื่อครั้งระบบ DVD เริ่มเข้า
ตลาด แต่สัญญาณคอมโพเน้นของ DVD ไม่ใช่ RGB แบบดั้งเดิม  ใครทราบลอง
ตอบปัญหาที่โพสไว้ที่หน้าหลัก(Home Page) ของเว็บไซท์นี้  จะได้รางวัล
เล็ก ๆ น้อย ๆ(ขออภัย ตอนนี้คำถามที่ว่านั้นได้เปลี่ยนเป็น dB แล้ว)

   
     DVI และ HDMI ไม่ใช่มาตรฐานสัญญาณาภาพที่เป็นดิจิตอลตัวแรก  ก่อนหน้านั้นเคยมีสัญญาณ  EGA(Enhanced Graphic Array)
ที่เป็นสัญญาณดิจิตอล TTL(Transister to Trasister Logic) และการ์ดคอมพิวเตอร์ EGA ที่ทั่วโลกนิยมในสมัยนั้นคือ เฮอร์คิวลิส และ
น่าภาคภูมิใจอย่างมากที่การ์ดจอเฮอร์คิวลิสนั้นเป็นของคนไทยที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
     ผมชอบปลั๊ก DVI มากกว่าปลั๊ก HDMI ตรงที่ปลั๊ก DVI  สามารถจขันสกรูล็อคแบบเดียวกับปลั๊ก VGA ส่วนปลั๊ก HDMI ใช้เสียบเข้า
เฉย ๆ โดยไม่มีที่ล็อคแบบเดียวกับปลั๊ก USB
     อีกประการหนึ่งในการติดตั้งระบบภาพและเสียง  งานของผมส่วนใหญ่ต้องการแยกสัญญาณภาพไปที่โปรเจคเตอร์  ส่วนสัญญาณเสียง
จะแยกไปยังเครื่องผสมสัญญาณเสียง  แต่ก่อนเมื่อต้องใช้สาย HDMI ผมต้องหาซื้อเครื่องแยกสัญญาณภาพและเสียงของ HDMI ออกจาก
กัน ซึ่งหาซื้อได้ยาก แต่หลัง ๆ ผมใช้เครื่องแบ่งสัญญาณ HDMI แทนเพราะมีราคาพอ ๆ กันและหาซื้อได้ง่าย

     แม้ผมจะชอบสัญญาณ  DVI มากกว่า HDMI  ซึ่งแรกเริ่มนั้นได้ถูกพัฒนามาเพื่อใช้กับงานบันเทิงในบ้าน  แต่คงเป็นเพราะ  HDMI
รวมสัญญาณภาพและเสียงในเส้นเดียวกันทำให้การติดตั้ง  เดินสาย  สะดวกและเรียบร้อยกว่า  DVI  ทำให้  DVI  ค่อย ๆ หายไปจาก
ท้องตลาด  และคงสูญพันธุ์ไปเวลาไม่นาน
     VGA แม้จะถูกท้าทายจาก HDMI แต่คงใช้เวลาอีกค่อนข้างนานกว่าจะหายไปจากตลาด  เนื่องด้วยสัญญาณ VGA เป็นสัญญาณ
อนาล็อคที่สามารถส่งสัญญาณตามสายทองแดงได้ไกลกว่าสัญญาณดิจิตอล  เราสามารถแปลงสัญญาณ VGA เป็น RGBHV ได้ง่าย และยิ่ง
มีการใช้สายไฟเบอร์อ็อฟติกส์  ผมว่า RGBHV น่าจะต้านกระแสไปได้พอสมควร  ดูจากผู้ผลิตสวิช  RGBHV  ยังมีรุ่นใหม่ ๆ ออกขาย

     มีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับ HDMI เพิ่มเติมนิดหนึ่ง 2 เรื่อง เมื่อไม่กี่เดือนมานี้  Kramer ผู้ผลิตเครื่องบริหาร/จัดการสัญญาณชั้นนำของโลก 
ได้มาจัดบรรยายและแนะนำสินค้าใหม่ที่กรุงเทพฯ ที่โรงแรมย่านถนนรัชดาภิเศก  เขาบอกว่ามีผู้ผลิตเครื่องมือที่ใช้สัญญาณ HDMI
เวอร์ชั่น 1.3 เพียง 2-3 รายเท่านั้น  ซึ่งรวมถึง Kramer ด้วย
     ผมแปลกใจมากเพราะผมเพิ่งได้รับข่าวสารจาก HDMI ว่าเขาเพิ่งออกเวอร์ชั่น 1.4 ที่มีสาระสำคัญอยู่ 2 อย่าง  คือ สัญญาณภาพและ
เสียงจะมีทั้งส่งและรับ  ถ้าเป็นภาพคงเหมาะกับจอแบบสัมผัส(Touch Screen) ซึ่งจะเหมาะกับ Windows 7  แต่ถ้าเป็นเสียง  ผมยังนึกถึง
ประโยชน์ไม่ออก
     อีกสาระหนึ่ง  คือ  HDMI จะทำหน้าที่เป็นสัญญาณเครือข่าย (network) ได้ด้วย  ซึ่งก็น่าจะดี  โดยเฉพาะเดี๋ยวนี้จอภาพ  LCD TV
มีความละเอียดพอจะรับสัญญาณโปรเกรสซิฟสแกน (progressive scan ผมอาจเขียนถึงเรื่องนี้  เพราะยังมีหลายคนไม่เข้าใจ)  ที่เป็น
สัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์

     อีกเรื่องหนึ่งที่  Kramer  พูดถึง  HDMI กับเครื่องสวิชต์สัญญาณ   คือเขาได้แก้ปัญหาเรื่องเครื่องเล่น BlueRay ถูกปิดหรือภาพจาก
เครื่องคอมฯ  ถูกตัด(ผมเคยเจอปัญหานี้เมื่อต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วสัญญาณภาพถูกปิด  เนื่องจากการ์ดจอของผมไม่มีคำสั่ง
เปิด/ปิด  ผมเลยต้องบูตเครื่องคอมฯ ขึ้นมาใหม่) 
     เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ  ผมขออธิบายในด้านเทคนิคนิดหน่อย  คือ  เมื่อครั้งแรกที่มีการพัฒนา  HDMI  พวกเขาคำนึงถึงแค่แหล่งจ่าย
สัญญาณภาพและเสียง  จากแหล่งหนึ่งไปยังเครื่องรับอีกแหล่งหนึ่ง  แต่เมื่อมีการนำมาใช้ในห้องประชุม  แล้วมีการใช้เครื่องสลับ/เลือก สัญญาณกับเครื่องปลายทาง  เช่น  โปรเจคเตอร์ หรือ จอมอนิเตอร์  จึงเกิดปัญหาการขาดการติดต่อระหว่าง เครื่องรับและเครื่องส่งชั่วขณะ
     ทั้งนี้เพราะในระบบ  HDMI  (เข้าใจว่า DVI ก็มีปัญหาด้วยเช่นกัน  แต่ผมยังไม่เคยมีประสบการณ์)  มีมาตรฐาน EDID (Extended
Display Identification Data) เพื่อเช็คความละเอียดของโปรเจคเตอร์หรือมอนิเตอร์  หลังจากนั้น EDID จะไปสั่งให้ชุดจ่ายสัญญาณ
ภาพให้ส่งสัญญาณที่มีความลเอียดที่เหมาะสมที่สุด
     เมื่อสัญญา  EDID ถูกตัดขาด EDID จะส่งสัญญาณไปยังเครื่องเล่น  BlueRay หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ปิดสัญญาณนั้นทันที
     ตามความเข้าใจของผม  สัญญาณถูกส่งออกมาจากเครื่องแล้วไม่เจอเครื่องรับอาจขยายกำลังสัญญาณเพิ่มมากขึ้น  จนอาจไปรบกวน
ระบบอีเลคทรอนิกส์ของเครื่องมืออื่น ๆ  เขาจึงออกแบบมาให้ตัดสัญญาณนั้นทันที
     แต่เจ้าหน้าที่ของ  Kramer  ในประเทศไทยอธิบายว่า  EDID  จะไปเช็คมาตรฐาน  HDCP(High Definition Digital  Content
Protection) ซึ่งเป็นระบบที่ Intel สร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพและเสียง  เมื่อหา HDCP  จากโปรเจคเตอร์ไม่ได้  เครื่อง
จ่ายสัญญาณจะถูกปิด ซึ่งจริง ๆ แล้ว HDCP ไม่มีการตัดสัญญาณแต่จะไม่อนุญาติให้สัญญาณผ่านเท่านั้นเอง

     การสลับ/เลือก (Switch/Select) สัญญาณภาพนั้นจะไม่เกิดขึ้นทันทีทันใจ  แต่จะใช้เวลาหลายวินาที  ซึ่ง EDID จะสั่งตัดสัญญาณ
หากไม่ได้รับสัญญาณตรงจากโปรเจคเตอร์หรือมอนิเตอร์เพียงแค่เสี้ยววินาทีเดียว
     Kramer  แก้ปัญหานี้ด้วยการโหลดสัญญาณข้อมูลจากโปรเจคเตอร์/มอนิเตอร์  มาเก็บไว้ในบัฟเฟอร์ขอเครื่องของ Kramer ทำให้
เครื่องของ Kramer ทำหน้าที่เสมือนโปรเจคเตอร์/มอนิเตอร์  และจะไม่มีการขาดการติดต่อกับ EDID
     ผมขอยืดเรื่องต่อจาก HDMI สักเล็กน้อย  ผมเคยพูดเสมอว่าไม่มีอะไรจีรัง  BlueRay เคยฟาดฟันกับ  HD  DVD  จนฝ่ายหลังพังพาบ 
ตอนนี้ตัวเองก็คงต้องคอยวันตายจากมาตรฐานใหม่ ๆ ที่จะทยอยออกมาเรื่อยทุกขณะ(ตำแหน่ง สส. สว. หรือ รมต.  ก็ไม่จีรัง)

 ป่านนี้  HDMI  คงต้องเตรียมปักหลักสู้กับ DisplayPort  ช่องรับภาพมาตรฐานใหม่
ที่  VESA ได้พัฒนาขึ้นมา (ดูรูปที่ 9)  เพราะอย่างน้อย  HDMI  เริ่มมีมาตรการที่จะ
ปรับขนาดปลั๊กของตนเองให้เล็กลง  เพื่อให้เหมาะในการนำมาใช้กับระบบ
มัลติมีเดียในรถยนต์(แต่ไม่เห็นมีการพูดถึงการล็อคปลั๊กที่ผมคาดหวัง)
     DisplayPort เป็นมาตรฐานจากอีกกลุ่มหนึ่งที่ผมยังไม่เคยเห็นของจริง  ผมเคยถาม
ร้านค้าในพันธ์ทิพย์พลาซ่าหลายราย  แต่เจอเพียงคนเดียวที่บอกว่าเราทราบว่า  DELL
ใช้ปลั๊ก DisplayPort มีบางคนบอกผมว่าเครื่องคอมของ Apple ใช้ Mini DisplayPort
ซึ่งผมต้องเข้าไปดูในศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า
     DisplayPort  นี้จะต่อตรงจากการ์ดจอแสดงผลไปยังจอมอนิเตอร์ โดยไม่ต้องผ่าน
ชุดประมวลผลบางอย่างเช่น  DVI และ HDMI ซึ่งจะทำให้โปรเจคเตอร์และจอมอนิเตอร์
มีขนาดเล็กลง  ซึ่งหมายถึงน้ำหนักที่ลดลงและราคาถูกลงด้วย
   

   ได้ยินว่า DisplayPort  กำหนดให้นัญญาณของเขาสามารถใช้ร่วมกับ DVI และ
HDMI  ได้  ซึ่งในระดับผู้กำหนดมาตรฐานนั้นคงใช้เวลานานหน่อย แต่ในระดับช่าง
วิศวกรนั้นคงหาวิธีแก้ปัญหาได้เร็วกว่า
    ผมเชื่อว่า DisplayPort  สามารถซอนไซเข้ามาในระบบภาพอย่างช้า ๆ แต่ผมไม่
กล้าฟันธงว่าจะเป็นผู้พิชิตได้หรือไม่ แต่ที่น่าจะเป็นไปได้มากคือ HDMI น่าจะยังยึด
ตลาดโฮมเธียเตอร์ไว้ได้อยู่  ส่วน DisplayPort  น่าจะแทรกเข้าภายใน 4-5 ปี  เพื่อ
ยึดตลาดคอมพิวเตอร์ได้

 
   
   
   
  นายตาถั่วคลำช้าง
   
   
 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231