ความน่าสงสัยในโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์
  การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพ
  แนวโน้มโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ. 2561
  สีตอน 2
  เลนส์ซูมแท้ไม่แท้
  TV Line
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน2
  ประวัติโปรเจคเตอร์ VDO/Computer
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน1
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  เตรียมตัวก่อนเลือก
ซื้อโปรเจคเตอร์
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
   
 
 
เปรียบต่าง (Contrast) ตอน 2

     ผมขอแนะนำผู้อ่านอย่ารีบด่วนเชื่อทุกสิ่งที่ผมบรรยายในทันที กรุณาตรองก่อน ในเมื่อผมเคยวิจารณ์คนอื่น ๆ ในทำนองว่าพวกเขาผิด
แทบทั้งสิ้น อย่างกับว่าผมถูกคนเดียว
     เมื่อตรองแล้วเห็นว่าผมผิด จะโต้กลับมาก็ยินดี หากผมผิดก็จะสามารถแก้ไขได้ หากใครอ่านแล้วงง หรือไม่เข้าใจก็แจ้งมาได้ ให้ผม
อธิบายเพิ่มเติมก็ยินดีเหมือนกัน เพราะผมมีหน้าที่ดูแลหน้า (Page) นี้อยู่แล้ว
     ผมเคยพบคนคนหนึ่งในพันทิพย์พลาซา เขาบอกว่าเขาเป็นผู้เขียนวิจารณ์โพรเจคเทอร์ในนิตยสาร แต่เมื่อเขาบอกว่าเปรียบต่าง และ
อัตราส่วนเปรียบต่าง เป็นเรื่องเดียวกัน รวมทั้งพวกค่าเปรียบต่างยิ่งสูงยิ่งดี ภาพยิ่งสวย ผมเลยไม่ทราบว่าจะพูดอะไรกับเขาต่อ
     ผมเชื่อว่าเดี๋ยวนี้หลายคนน่าจะรู้จักสัดส่วนเปรียบต่าง คือความแตกต่างระหว่างความสว่างสูงสุด กับความสว่างต่ำสุด ยิ่งอัตราเปรียบ
ต่างสูงเท่าไหร่ยิ่งดี แต่ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด (ultimatum) และในหลายกรณีไม่มีความจำเป็นขณะที่เปรียบต่างนั้นไม่ใช่ว่ายิ่งสูงยิ่งดีเช่นกัน
เว้นแต่ในบางกรณี เปรียบต่างยิ่งสูงยิ่งดี เช่นตัวหนังสือสีดำบนพื้นขาว ที่มีค่าเปรียบต่างสูง จึงทำให้อ่านได้ง่าย

     

1 ก

 

 

1 ข

ภาพที่ 1 ตัวอักษร A สีดำบนพื้นขาว หรือขาวบนพื้นดำ มีความเปรียบต่างสูงจึงทำให้ อ่านได้ง่าย

ภาพต่อไป แสดงถึงเปรียบต่างที่ต่ำในระดับต่าง ๆ ยิ่งค่าเปรียบต่างต่ำเท่าไหร่ ยิ่งอ่าน ยากเท่านั้น

   
   

2 ก
เปรียบต่างสูง

 

 

2ข
เปรียบต่างปานกลาง

 

 

2ค
เปรียบต่างต่ำ

     เปรียบต่างต่ำไม่จำเป็นต้องเป็นสีที่สว่างแบบรูป 2ค เท่านั้น แต่ภาพที่เปรียบต่างต่ำนั้นจะมีความแตกต่างกันน้อย กรุณาดูรูปที่ 3 จะเห็นว่าทั้ง 3ก 3ข และ 3ค มีค่าเปรียบต่างเท่ากัน (ตัวอย่างที่ทำโชว์ไม่ได้กำหนดค่าให้แม่นยำ ผมทำขึ้นเพื่อให้เข้าใจอย่างง่าย ๆ)

 
 
 

3 ก

 

3 ข

 

3ค

 

3ง

ภาพที่ 3 แสดงถึงภาพที่มีค่าเปรียบต่างเท่ากันทั้ง 4 ภาพ
หมายเหตุ ค่าความแตกต่างของแต่ละภาพกะด้วยสายตา
จึงไม่แม่นยำ  ขอให้ใช้เป็นแนวทางในการเข้าใจเท่านั้น

     ในตอนนี้ผมขอหยุดที่ตัวอักษรว่ายิ่งเปรียบต่างสูงเท่าไหร่ ยิ่งอ่านง่านเท่านั้น (ผมหมายถึงจอมอนิเทอร์ที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้สว่างพอดี ไม่ใช่จ้ามากจนแสบตา เพราะถ้าจ้าแบบนั้นจะเกิดปัญหาในด้านเกินสัดส่วนเปรียบต่าง ซึ่งผมจะอธิบายหลังจากจบเรื่องเปรียบต่างแล้ว)
ผมขอแย้มว่าในตอนที่ 3 ผมจะเปรียบเทียบภาพถ่ายที่มีค่าเปรียบต่างที่ต่างกันว่าเป็นอย่างไร
     เมื่ออ่านบทความเปรียบต่างตอน 1 และตอน 2 แล้วช่วยวิจารณ์หน่อย เพราะนี่เป็นครั้งแรกที่ผมเขียนเรื่องเปรียบต่างโดยคิดวิธีอธิบาย
เองไม่ได้ลอกใครมา และไม่ได้กางตำราต่างประเทศแล้วนำมาดัดแปลง แล้วเรียบเรียงใหม่ให้เป็นบทความของผม
     ตอนที่เขียนผมคิดว่าผมได้พยายามลำดับขั้นตอนให้เข้าใจง่ายที่สุด แต่จะรู้ได้ว่าดีหรือไม่ดีก็ต้องอาศัยคนอ่านที่จะวิจารณ์มา
ส่วนเหตุที่ต้องแบ่งเป็นตอน ๆ ก็เพราะ

  • กลัวว่าคนอ่านจะเบลอ
  • เขียนยาว ๆ ไม่เป็น
  • อยากให้ผู้อ่านแวะมาชมเว็บไซต์ www.virasupplies.com เรื่อย ๆ
     
    นายตาถั่ว  คลำช้าง
     
เปรียบต่าง(Contrast)
ตอน 1
เปรียบต่าง(Contrast)
ตอน 2
เปรียบต่าง(Contrast)
ตอน 3
เปรียบต่าง(Contrast)
ตอน 4
เปรียบต่าง(Contrast)
ตอนจบ
     
     
 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231