ความน่าสงสัยในโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์
  การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพ
  แนวโน้มโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ. 2561
  สีตอน 2
  เลนส์ซูมแท้ไม่แท้
  TV Line
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน2
  ประวัติโปรเจคเตอร์ VDO/Computer
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน1
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  เตรียมตัวก่อนเลือก
ซื้อโปรเจคเตอร์
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
   
 
เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
    ปรับปรุงข้อมูลครั้งที่ 1 3/9/61

    บทความนี้น่าจะเผยแพร่ตั้งแต่สมัยที่ยังมีการสอนวิชาโสตทัศนศึกษา แต่เมื่อมีนิตยสารออนไลน์ AV Comm จึงเห็นสมควรที่จะนำมาเผยแพร่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่โสตฯที่ยังสนใจไขว่หาความรู้ และผู้อ่านทั่วๆไปได้เข้าใจ อย่างน้อยจะได้รู้ว่า เลนส์นูนนั้นคือเลนส์ควบแสงจริงๆ ไม่ใช่เลนส์เกลี่ยแสงอย่างที่สอนกันในหลายสถาบันการศึกษา

    เมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว ผมไปอบรมภาคฤดูร้อนเกี่ยวกับการถ่ายภาพ อาจารย์ท่านบอกว่าเครื่องฉายสไลด์ไม่มีอะไรน่าสน แค่มีเลนส์นูน 2ตัวเท่านั้นเอง แล้วท่านก็เขียนไดอะแกรมดังภาพด้านล่างนี้

    ผมเห็นแล้วถึงกับช็อค เพราะแสงผ่านเลนส์นู้น ตัวแรกยังวิ่งเป็นแนวตรงไม่มีการหักเหของแสง นั่นหมายความว่าเลนส์นู้นตัวนั้นไม่ได้มีผลต่อทางเดินของแสงเลย แล้วอย่างนี้จะใช้เลนส์นูนไปทำไมกัน พอแสงผ่านเลนส์นูนตัวที่ 2 แสงก็ยังเดินทางเป็นเส้นตรงอยู่ดี ทีนี้จะทำอย่างไรที่จะทำให้แสงผ่านเลนส์ฉาย อยู่ๆแสงก็หักกลางอากาศมารวมกันจนผ่านเลนส์ฉายดื้อๆ ผมจะถ่ายรูปไดอะแกรมที่ท่านเขียน แต่ก็ไม่ทัน เพราะพอท่านวาดภาพเสร็จ ท่านก็เอาแปรงมาลบภาพบนกระดานออกทันที
ในบทความนี้จะอธิบายว่าเลนส์นูนแต่ละตัวทำหน้าที่อะไร และไม่ใช่ว่าจะเอาเลนส์นูนอะไรมาใช้ก็ได้ แต่ต้องมีค่าทางยาวโฟกัสที่เหมาะสมด้วย

 


รูปที่ 1 ทางเดินของแสงในเครื่องฉายสไลด์
    
    ในรูปที่ 1 จะเห็นว่าในเครื่องฉายสไลด์นั้นมีหลอดฉาย ด้านหลังหลอดฉายมีจานสะท้อนแสงเพื่อป้อนแสงให้ไปด้านหน้าอย่างเดียว แต่ได้โปรดสังเกตุว่า ถึงกระนั้นก็ตาม มีแสงเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ส่องผ่านแผ่นสไลด์ นอกนั้นจะล้นออกด้านข้าง ทำให้ความสว่างที่ฉายออกมามีเพียงเล็กน้อย 

    เพื่อให้แสงผ่านแผ่นสไลด์เต็มที่ เราจึงใช้เลนส์ควบแสง ( condensing lens = เลนส์นูน ) บีบให้แสงผ่านแผ่นสไลด์เต็มที่ทั่วทั้งแผ่นสไลด์ ไม่ใช่เพียงบางส่วน ( ดูรูปที่ 2 )

รูปที่ 2 แสดงถึงหน้าที่ของเลนส์ควบแสงที่บีบลำแสงให้ส่องผ่านแผ่นสไลด์ทั้งหมด

    เลนส์ควบแสงตัวนี้จะอยู่หน้าหลอดฉายและต้องมีทางยาวโฟกัสที่เหมาะสมดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่า ไม่ใช่แค่มีเลนส์นูนอะไรก็ได้ มีระยะห่างเท่าไหร่ก็ได้ ซึ่งอาจารย์ท่านนั้นไม่ได้แนะนำ 

    อีกประการหนึ่งเลนส์ควบแสงตัวนี้ไม่ได้ทำหน้าที่เกลี่ยแสง ความจริงมีเลนส์เกลี่ยแสงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพจากคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ เนื่องจากแผง LCD ชนิด Polysilicon และ DMD มีขนาดเล็กมาก ทำให้กลางจอมีความสว่างมากเป็นดวงกลม ขณะที่ขอบและมุมจอ แสงจะลดลงมาก 




 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231