ความน่าสงสัยในโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์
  การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพ
  แนวโน้มโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ. 2561
  สีตอน 2
  เลนส์ซูมแท้ไม่แท้
  TV Line
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน2
  ประวัติโปรเจคเตอร์ VDO/Computer
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน1
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  เตรียมตัวก่อนเลือก
ซื้อโปรเจคเตอร์
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
   
 
เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์ หน้า 2
    กระนั้นก็ตาม แสงก็ยังไม่ผ่านเลนส์ฉายทั้งหมด ทำให้แสงที่ฉายออกมา แม้จะสว่างกว่าครั้งที่ยังไม่ติดตั้งเลนส์ควบแสงก็ตาม วิธีแก้ไขคือ ใช้เลนส์ควบแสงอีกตัว ติดตั้งค่อนข้างชิดกับแผ่นสไลด์ และต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าแผ่นสไลด์ และให้มีทางยาวโฟกัสที่เหมาะกับเลนส์ฉาย ( ดูรูปที่ 3 )


รูปที่ 3 แสดงให้เห็นว่าเลนส์ควบแสงตัวที่ 2 ที่อยู่ใกล้ชิดแผ่นสไลด์ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า แผ่นสไลด์ และทำหน้าที่บีบแสงให้ผ่านเลนส์ฉายทั้งหมดให้พอดี


    เครื่องฉายสไลด์ในเกรด Pro AV จะมีเลนส์ฉายที่มีทางยาวโฟกัสขนาดต่างๆให้เลือกมากมาย ซึ่งจะสร้างปัญหา โดยจะเห็นได้ชัดหากเป็นเลนส์ฉายที่มีทางยาวโฟกัสสั้น จะเห็นว่า แสงที่ส่องผ่านแผ่นสไลด์จะส่องล้นเลนส์ฉายที่มีความยาวโฟกัสสั้น ดูรูปที่ 4 (เลนส์ฉายที่มีระยะทางยาวโฟกัสยาว ก็มีปัญหาในทางตรงกันข้าม) 

รูปที่ 4 ในกรณีที่เลนส์ฉายมีทางยาวโฟกัสที่สั้นลง ตำแหน่งของเลนส์ฉายจะชิดกับแผ่นสไลด์มากขึ้น เลนส์ควบแน่นตัวที่ 2 จะไม่เหมาะกับเลนส์ฉายตัวนี้


    วิธีแก้คือ ให้เปลี่ยนเลนส์ควบแสงตัวที่อยู่ชิดแผ่นสไลด์ให้มีทางยาวโฟกัสที่สั้นพอและเหมาะกับเลนส์ฉาย ซึ่งจะทำให้เลนส์ควบแสงตัวนี้มีความหนามาก แพงขึ้น และอาจแตกง่ายเนื่องจากความร้อน

    วิธีที่เครื่องฉายสไลด์ส่วนใหญ่ใช้แก้ปัญหานี้คือ เพิ่มเลนส์ควบแสงตัวที่ 3 ก่อนตัวที่ 2 ( ดูรูปที่ 5 ) โดยเลือกทางยาวโฟกัสซึ่งเมื่อใช้ร่วมกับเลนส์ควบแสงตัวที่ 2 จะมีกำลังพอเหมาะกับเลนส์ฉายที่มีทางยาวโฟกัสสั้น


รูปที่ 5 วิธีแก้ปัญหาของเลนส์ควบแสงตัวที่ 2 ในกรณีเลนส์ฉายมีทางยาวโฟกัสสั้นลง
คือให้เพิ่มเลนส์ควบแสงตัวที่ 3 วิธีนี้จะประหยัดราคากว่าใช้เลนส์ควบแสงที่นูนมากๆเพียงตัวเดียว

    

ในระยะหลังได้มีการออกแบบกระจกสะท้อนแสง ให้ทำหน้าที่แทนเลนส์นูนตัวที่อยู่ชิดกับหลอดฉาย เราจึงอาจไม่เห็นเลนส์นูนตัวที่อยู่ใกล้หลอดฉาย
เมื่อกระจกสะท้อนแสงทำหน้าที่แทนเลนส์นูน ตำแหน่งของกระจกสะท้อนแสงจึงสำคัญ ดังนั้นแทนที่เขาจะยึดหลอดฉายไว้กับขั้วไฟฟ้า เขาจะยึดกระจกสะท้อนแสงให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องแทน ส่วนขั้วหลอดตัวเมียก็จะทำขั้วลอยๆต่อกับสายไฟฟ้า เพราะตำแหน่งขั้วหลอดนั้นไม่ต้องแม่นยำ เครื่องฉายภาพที่ผมเห็นว่าใช้หลอดฉาย ที่จานสะท้อน
แสงทำหน้าที่แทนเลนส์นูนด้วยคือ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายภาพแผ่นใสของ 3M และเครื่องฉายภาพวีดิโอ/คอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันล้วนใช้จานสะท้อนแสงที่ทำหน้าที่แทนเลนส์นูน
    




 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231