ความน่าสงสัยในโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์
  การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพ
  แนวโน้มโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ. 2561
  สีตอน 2
  เลนส์ซูมแท้ไม่แท้
  TV Line
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน2
  ประวัติโปรเจคเตอร์ VDO/Computer
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน1
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  เตรียมตัวก่อนเลือก
ซื้อโปรเจคเตอร์
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
   
 
อัตราส่วนเปรียบต่าง
( Contrast Ratio )
     ขออนุญาตขยายบทความ “เปรียบต่างตอน 4” นิดหน่อย ในช่วงท้ายๆของบทความ ผมบอกว่า การปรับค่าเปรียบต่างให้เหมาะสมคือ ให้ปรับค่าเกรสเกลให้แต่ละแถบแยกออกจากกัน      ตอนที่เขียนบทความนั้น ผมรู้สึกว่า น่าจะขาดขั้นตอนบางอย่างออกไปแต่นึกไม่ออก เพิ่งนึกออกตอนเดินเล่นที่ศูนย์การค้า Central World ซึ่งก็หลังจากที่บทความนั้นได้ถูกเผยแพร่ไปแล้วเกือบเดือน เลยไม่มีการปรับปรุงใหม่

     เงื่อนไขเพิ่มเติมจากการปรับเกรสเกลคือ ถ้าภาพที่ฉายนั้นไม่สว่างมากๆ การปรับเกรสเกลจะใช้ได้เลย แต่ถ้าภาพที่ฉายไปสว่างจ้า จะทำให้แต่ละแถบของเกรสเกลมีความแตกต่างกันมากเกินไปอย่างชัดเจน จึงทำให้ภาพที่ฉายยังมีความเปรียบต่างสูงอยู่ดี

     วิธีแก้ไขคือ ให้ลดความสว่างลงจนแต่ละแถบสเกลมีความต่างกันพอดี ส่วนแค่ไหนถึงจะพอดี ผมยังไม่เคยค้นคว้า ไปถามผู้ที่จบการศึกษาจาก “เทคโนโลยีภาพถ่ายและการพิมพ์” จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปรากฏว่าเด็กรุ่นใหม่เขาไม่เรียนเรื่องนี้กันแล้ว ดังนั้นผมขอติดค้างที่จะตอบไว้ก่อน จนกว่าจะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง

     ทีนี้กลับเข้าเรื่องอัตราส่วนเปรียบต่าง ที่หลายคนนึกว่า “เปรียบต่าง” และ “อัตราส่วนเปรียบต่าง” เป็นเรื่องเดียวกัน ความจริงเป็น “คนละเรื่อง เดียวกัน”

     จากบทความเปรียบต่าง ผมจะแนะนำให้ปรับค่าเปรียบต่างให้พอดี ไม่สูงไปหรือต่ำไป หมายความว่าเปรียบต่างนั้นปรับได้ แต่อัตราส่วนเปรียบต่างนั้นปรับไม่ได้ อัตราส่วนเปรียบต่างค่ายิ่งสูงเท่าไหร่ยิ่งดี แต่ปัญหาคือแค่ไหนถึงจะพอและเราสามารถเห็นความแตกต่างได้มากแค่ไหน

     เหมือนเสียง หากความถี่สูงหรือต่ำเกินไปจนหูเราไม่ได้ยิน จะได้ประโยชน์อะไร นอกจากให้มนุษย์ค้างคาวฟัง ขณะที่พ่อค้าเครื่องเสียงระดับ ไฮ – เอ็น อธิบายว่า ใช้ผิวหนังฟังแทน อย่างกับปลาฉลามอย่างนั้นแหละ ว่างๆจะเล่านิทานเรื่องชุดทรงพระราชาให้ฟังเป็นอุทาหร

     ในตอนนี้ผมจะกล่าวถึงวิธีการคำนวณเพื่อหาค่าอัตราส่วนเปรียบต่าง หลายคนพอจะรู้ว่าตัวเลขได้มาจากการวัดค่าความสว่างสูงสุด แล้วหารด้วยค่าความสว่างต่ำสุด

     ในงานเสวนา “การเลือกซื้อจอภาพระบบ LCD TV หรือ Plasma TV “ทิศทางของจอภาพในอนาคต” บรรณาธิการท่านหนึ่งออกมาพูดดังๆด้วยท่าทางขึงขังว่า คอนทราสล้านหนึ่งก็มี แต่จะมีประโยชน์อะไรในเมื่อภาพจะสว่างจ้าแสบตาจนดูไม่ได้ ขอแถมอีกนิด ท่านบอกว่า Contrast คือความสว่างในความสว่าง ต่อมามีคนบอกว่าท่านสอนว่า Contrast คือความสว่าง ส่วนBrightnessคือ ความมืด(ยิ่งบ้าเข้าไปใหญ่) แล้วยังมีคนเชื่อ

     ผมขอยืนยันว่าอัตราส่วนเปรียบต่าง 1000000 : 1 (หนึ่งล้านต่อหนึ่ง) นั้นยังไม่มี (ขอเพิ่มเติมนิด หน่อย เห็นมีคนบอกว่าจอฯ LCD TV ของ Sumsung มีอัตราส่วนเปรียบต่างสูงถึง 1.2 ล้านต่อ 1แล้ว) และถึงมีก็ไม่ได้หมายความว่าภาพต้องสว่างจ้าจนแสบตา ส่วนที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้อัตราส่วนเปรียบต่างสูง คือค่าความสว่างต่ำสุด คือต้องต่ำมากๆ

     ยกตัวอย่าง ถ้าความสว่างสูงสุดมีค่าเท่ากับ 1000 ลักส์ (luxs)ส่วนค่าความสว่างต่ำสุดมีค่าเท่ากับ 1 ลักส์ อัตราส่วนเปรียบต่างจะเป็น 1000 : 1 (หนึ่งพันต่อหนึ่ง) แต่ถ้าความสว่างสูงสุดยังมีค่าเท่ากับ 1000 ลักส์ เหมือนเดิม ส่วนความสว่างต่ำสุดมีค่าลดลงเหลือเพียง 0.1 ลักส์ อัตราส่วนเปรียบต่างจะกลายเป็น 10000 : 1 (หนึ่งหมื่นต่อหนึ่ง) ทั้งๆที่ความสว่างสูงสุดของโปรเจคเตอร์ทั้งสองเครื่อง จะเท่ากัน

     มีใครบ้างที่ทราบว่า มีมาตรฐานการวัดค่าอัตราส่วนเปรียบหลายมาตรฐาน เท่าที่ผมทราบมี 3 มาตรฐานดังนี้
1. Full on Full off
2. JAOMA
3. ANSI Contrast Ratio

 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231