ความน่าสงสัยในโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์
  การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพ
  แนวโน้มโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ. 2561
  สีตอน 2
  เลนส์ซูมแท้ไม่แท้
  TV Line
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน2
  ประวัติโปรเจคเตอร์ VDO/Computer
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน1
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  เตรียมตัวก่อนเลือก
ซื้อโปรเจคเตอร์
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
   
 
 
ปรับปรุงบทความต่าง ๆ ที่ลงในหมวดความรู้ ให้สมบูรณ์มากขึ้น

     
ผมเริ่มเขียนบทความด้านความรู้ที่เว็บไซท์นี้เป็นครั้งแรกหลังจากไปฟังการเสวนาของเหล่าบรรณาธิการนิตยสารระดับไฮเอนด์(High End)
ด้านภาพที่โรงแรมแอมบาสเชาดย์เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2550  ตามด้วยอีกหลายบทความพอใกล้สิ้นปี พ.ศ. 2551  ผมเห็นว่าบางบทความ
สมควรมีการปรับปรุง(up-date) เพราะตอนเผยแพร่ครั้งแรกนั้น  มีบางอย่างขาดตกบกพร่องไป หรือตรวจตราภาพประกอบไม่ครบ
บทความที่ผมขอปรับปรุงมีดังนี้
โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น

     ผมไม่น่าลืมโปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้นที่น่าจะเป็นตัวแรกที่ผมได้เห็น  ซึ่งก็คือ  3M
ครั้งแรกที่ได้เห็น  ผมมองว่าเป็นความคิดเด็ก ๆ  เพราะเขาเอาโปรเจคเตอร์มาติดที่ปลายก้าน
ซึ่งเมื่อโยกออกมาจากผนัง โปรเจคเตอร์จะเลื่อนออกมาอยู่ในตำแหน่งที่พร้อมจะฉาย  เมื่อใช้
เสร็จแล้วก็พับเก็บกลับคืนที่เดิม  ส่วนจอนั้นเป็นชนิดอินเตอร์แอคทีฟและยังทำหน้าที่เป็น
กระดานไวท์บอร์ดในตัว  การออกแบบแบบนี้ตัวโปรเจคเตอร์จำเป็นต้องเป็นชนิด
ระยะฉายสั้น
 
 
 
Bright Era
โปรเจคเตอร์ Sony ในซีรีส์ VLP-FH ที่ใช้แผงสร้างภาพ Bright Era เทียบกับขนาดคน

ตอนที่ผมลงเรื่องโปรเจคเตอร์  Sony ที่ใช้เทคโนโลยี SXRD(LCOS)  และ 
Bright Era (LCD รุ่นใหม่ของ Sony) ผมมีแต่รูปแต่ไม่มีภาพที่จะเปรียบเทียบ
ขนาดของโปรเจคเตอร์กับขนาดของคน  เผอินระหว่างวันที่ 19-21 พฤศจิกายน
2551 ผมไปงานนิทรรศการณ์ Inforcomm Asia 2008 ที่ฮ่องกง ได้เห็นผู้ออก
บูธรายหนึ่งตั้งเครื่องโปรเจคเตอร์ Sonyในซีรีส์  SRX  ผมเลยถ่ายรูปเพื่อเปรียบ
เทียบระหว่างโปรเจคเตอร์กะคนเอามาลงในที่นี้  
     และในงานโสตเทคโนสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 10-12 ธ.ค.
51 ซึ่งในครั้งนี้ได้ไปจัดงานที่  ม.ศิลปากรณ์  วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ 
จ.นครปฐม Sony Thai ได้ให้ยืมโปรเจคเตอร์ในซีรีส์ VPL-FH  ที่ใช้แผงสร้าง
ภาพ Bright Era ผมเลยขอถ่ายภายระหว่างที่เจ้าหน้าที่ของเขากำลังเปลี่ยนเลนส์ 
เพื่อเทียบกับขนาดโปรเจคเตอร์กับขนาดคน 

โปรเจคเตอร์ Sony ในซีรีส์ SRX ที่ใช้แผงสร้างภาพ SXRD เทียบกับขนาดคน
 

     ในบทความนี้ผมได้เอ่ยถึงเทคโนโลยี GLV ว่ายังไม่เคยเห็นใคร
นำเอามาทำเป็นโปรเจคเตอร์ ผมเพิ่งค้นเจอทางอินเตอร์เน็ตหลังจากที่
ได้ลงบทความนั้นได้ไม่ถึงเดือนว่ามีผู้นำมาทำเป็นโปรเจคเตอร์ที่มี
ความละเอียดสูงมาก ๆ คือ 16 เท่า HD (HD มีความละเอียด
1,920 x 1,080 พิกเซล) ซึ่งโปรเจคเตอร์ยี่ห้อนี้ใช้แหล่งแสงสว่างเป็น
เลเซอร์ชนิดโซลิคสเตท แต่เป็นผลิตภัณฑ์จากคนละโรงงานกับที่ Sony
ใช้

แผงสร้างภาพ GLV
 
 
โปรเจคเตอร์จิ๋ว
     
     ตอนที่ลงบทความนี้ผมตั้งใจจะลงภาพการแก้ปัญหาที่โปรเจคเตอร์จิ๋วจะต้อง
เจอคือ  ช่องรับสัญญาณ  ที่ผมถ่ายภาพมาจาก TV Box ที่เขาแก้ปัญหาด้วยการ
ทำสายอเดปเตอร์ให้ปลั๊ก ๆ หนึ่ง ทำหน้าที่ได้หลายอย่าง เผอินเจ้าหน้าที่ของผมลืม
นำมาลงในบทความนั้น  ผมเลยเอามาลงในที่นี้ จะเห็นได้ว่าเราสามารถขยายช่อง
รับสัญญาณ 1 ช่องให้รับสัญญาณชนิดต่าง ๆ กันได้หลายชนิด 
     
   
มีอีก 2 เรื่องที่ผมลืมนึกถึง  คือ
1.  เมื่อผมไปชมงาน  InforComm Asia 2008 ที่ฮ่องกง  มีคนเอาโปรเจคเตอร์จิ๋วมาโชว์มากพอสมควร 
รายหนึ่งมีขนาดเล็กมาก  ผมเลยถ่ายภาพมาลงให้เห็นขนาดเมื่อเที่ยบกับขนาดนิ้วชี้ของหญิงสาวที่ดูแลบูธของ
เธออยู่เธอไม่ได้ฉายให้ดู  ทำให้ไม่เห็นความสว่างและยังไม่รู้ว่าเขาป้อนสัญญาณแบบไหน  ผมไม่ทราบจะถาม
ใคร  เพราะผู้ผลิตไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาในงานนิทรรศการณ์นี้
โปรเจคเตอร์จิ๋วที่เทียบกับ
ขนาดนิ้วชี้
2.  ตอนที่เขียนบทความโปรเจคเตอร์จิ๋ว ผมลืมนึกถึงชุดจ่ายไฟ  ผมสังเกตุว่าในงานนิทรรศการณ์ที่ฮ่องกง  เขาคงใช้สายไฟที่มาจากสวิชชิ่ง
เพาเวอร์ซัพพลาย  ซึ่งเสียบปลั๊กอยู่ที่อีกห้องหนึ่ง  แล้วโผ่มาให้เห็นเฉพาะสายไฟจากหลังประตู เพราะหากนำชุดจ่ายกระแสไฟมารวมกับ
โปรโจคเตอร์จิ๋วแล้ว  ขนาดและน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นจนลดความน่าสนใจลง
3.  เมื่อเทียบความสว่างของโปรเจคเตอร์จิ๋วที่เขาฉายขึ้นจอเล็ก  แล้วใช้จอพิเศษที่มีความสว่างสูง  แบบนี้ผมว่าดูจากจอมอนิเตอร์ของ
คอมพิวเตอร์ขนาดโน๊ตบุ๊คจะเห็นชัดเจนกว่าเป็นไหน ๆ
 
วิชวลไลเซอร์
 
     ในบทความนี้ผมได้แนะนำให้เลือกเครื่องวิชวลไลเซอร์ที่มีความละเอียดขนาด 470,000 พิกเซล  มากกว่าวิชวลไลเซอร์ทีมีความละเอียด
800,000  พิกเซล  แต่ผมลืมรวมเครื่องวิชวลไลเซอร์ที่มีความละเอียดสูงมาก ๆ ตั้งแต่ 1,300,000  พิกเซล  ขึ้นไปด้วย ผมขอเพิ่มเติมอย่าง
ย่อ ๆ ว่า ผู้ใช้ส่วนใหญ่มีโปรเจคเตอร์ที่มีความละเอียดสูงสุดเพียง XGA (ที่มีความละเอียดประมาณ 800,000 พิกเซล  เท่านั้น) ไม่ว่าเครื่อง
วิชวลไลเซอร์จะมีความละเอียดเท่าไหร่ท่านก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากส่วนที่เกินกว่าความละเอียดของเครื่องโปรเจคเตอร์ของท่านได้
หมายเหตุ  โปรเจคเตอร์ที่มีความละเอียดระดับ SXGA (1,280 x 1,024 พิกเซล)  จึงจะตอบสนองความละเอียดของเครื่องวิชวลไลเซอร์
ที่มีความละเอียด 1.3 ล้านพิกเซลได้  หรือโปรเจคเตอร์ที่มีความละเอียดระดับ HD(1,920 x 1,080) จึงจะพอกับเครื่องวิชวลไลเซอร์ที่มีความ
ละเอียดระดับ 2 ล้านพิกเซลได้
     ผมได้ข่าวว่าวิชวลไลเซอร์ที่มีความละเอียด 5 ล้านพิกเซล แต่ไม่ทราบรายละเอียด เข้าใจว่าจะเป็นภาพที่มีความละเอียด HD แต่ใช้แผง
จับภาพจำนวน 3 แผ่น ซึ่งหากจะใช้วิชวลไลเซอร์ที่มีความละเอียดระดับนี้โปรเจคเตอร์ต้องมีความละเอียดระดับ HD เช่นกัน
 
 
ทายปัญหา
ภาพการติดตั้งโปรเจคเตอร์กับลิฟท์ที่ทายปัญหา

ข้อผิดพลาด
    1. การวางโปรเจคเตอร์บนฝ้าเสี่ยงต่อการเกิด
อุบัติเหตุตกลงมา
     2. การไม่หงายโปรเจคเตอร์ขึ้นทำให้ต้องแก้
Digital Keystone Correction มาก ทำให้ลด
จำนวนพิกเซลลงและสูญเสียแสงสว่าง

 
         ครั้งหนึ่งผมเคยมีคำถามให้ทาย  โดยเอาภาพการติดตั้งลิฟท์ยกโปรเจคเตอร์
ที่ติดกับเพดานมาลง  แล้วให้ทายว่ามีข้อผิดพลาดอยู่  2  ประการ โดยบอกว่าได้มา
จากเว็บไซท์ของผู้จำหน่ายในประเทศไทยรายหนึ่ง  ผมเพิ่งทราบว่าเขาเอาภาพนั้น
มาจากเว็บไซท์ของผู้้ค้าในประเทศจีน  เพราะผมเพิ่งค้นเจอ  ผมเข้าใจว่าผู้ค้าคน
ไทยรายนั้น คงซื้อลิฟท์มาจากผู้ค้าจีนรายนั้นเลยเอารูปมาลง
 
 
 
     
     
 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231