ความน่าสงสัยในโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์
  การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพ
  แนวโน้มโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ. 2561
  สีตอน 2
  เลนส์ซูมแท้ไม่แท้
  TV Line
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน2
  ประวัติโปรเจคเตอร์ VDO/Computer
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน1
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  เตรียมตัวก่อนเลือก
ซื้อโปรเจคเตอร์
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
 
 
 
 
 
คีย์สโตน (Keystone) ตอน1
    
       ใครที่เคยใช้โปรเจคเตอร์ มักมีประสบการณ์ที่หากตั้งโปรเจคเตอร์บนโต๊ะ แล้วปรากฏว่า ภาพอยู่ต่ำเกินไป เลยกระดกโปรเจคเตอร์ขึ้น
        แน่นอนภาพจะถูกยกสูงขึ้น แต่รูปทรงของภาพ แทนที่จะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า กลับกลายเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู ซึ่งภาษาอังกฤษ เขาเรียกว่า Keystone Effect
        เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ เพราะด้านล่างของภาพอยู่ใกล้โปรเจคเตอร์มากที่สุด จะมีขนาดเล็ก แต่เมื่อภาพที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ระยะระหว่างโปรเจคเตอร์กับจอฯ จะค่อยๆ ห่างออกไป ซึ่งภาพยิ่งห่างจากโปรเจคเตอร์มากเท่าไหร่ ขนาดของภาพก็จะใหญ่ตามไปด้วย ทำให้ด้านบนของภาพที่ฉายมีขนาดสูงขึ้น ไม่เพียงแค่นั้น ด้านข้างก็ขยายออกไปด้วย กลายเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู
            มีวิธีแก้ปัญหาคีย์สโตนอยู่ 4 วิธี
  1. ให้โปรเจคเตอร์ตั้งฉากกับจอสำหรับภาพฉาย แต่ข้อเสียคือ เราอาจต้องยกโปรเจคเตอร์ขึ้นสูง ซึ่งจะไปบดบังสายตาของผู้ชม เว้นแต่การฉายนั้นเป็นการฉายจากด้านหลังจอฯ
  2. ใช้ระบบแก้ด้วยดิจิตอล วิธีนี้สะดวก แต่จะไปลดความละเอียดของภาพ เพราะโดนบีบอัด รวมทั้งลดความสว่างลงด้วย ซึ่งผมพยายามหลีกเลี่ยงการแก้ด้วยวิธีนี้ แต่คนไทยเกือบทุกรายไม่ยอมรับภาพที่เป็น keystone
  3. แก้ด้วยวิธีออพติคอล(optical) โดยขยับเลนส์ฉายขึ้นลงในแนวดิ่ง แต่วิธีนี้มีขีดจำกัด ไม่สามารถแก้ได้มากเท่ากับการแก้ด้วยวิธีดิจิตอล ความจริงการแก้ด้วยระบบ optical สามารถเพิ่มช่วงการแก้ ถ้าผู้ผลิตโปรเจคเตอร์ใช้เลนส์ฉายที่มี circle of image ใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทำให้ราคาของเครื่องฉายสูงมากเกินไป อีกทั้งการทำระบบขับเคลื่อนเลนส์ฉาย ให้มีช่วงการทำงานที่มากขึ้น ก็สร้างปัญหาให้กับการออกแบบโปรเจคเตอร์
  4. แก้ด้วยการปรับองศา ของจอสำหรับภาพฉาย โดยให้ตั้งฉากกับโปรเจคเตอร์ที่ตั้งบนโต๊ะ วิธีนี้ไม่เหมาะ หากโปรเจคเตอร์ติดตั้งบนเพดาน หรือจอฯมีขนาดใหญ่มาก
            มีแม่ค้าขายโปรเจคเตอร์รายหนึ่ง บ่นให้ผมฟังว่า อุตส่าห์กล่อมลูกค้าให้ซื้อโปรเจคเตอร์ที่แก้คีย์สโตน ด้วยระบบออบติคส์ แต่ผลออกมากลับไม่เห็นจะช่วยได้สักเท่าไหร่
            ผมรู้อยู่เต็มอกแล้วว่า โปรเจคเตอร์ที่ไม่มีระบบปรับเลนส์ เพื่อแก้คีย์สโตนนั้น แท้จริงแล้ว เขาตั้งตำแหน่งเลนส์ฉายให้อยู่ในตำแหน่ง maximum keystone correction ดังจะเห็นได้ว่าเวลาฉาย โปรเจคเตอร์ไม่ได้อยู่ในระดับกึ่งกลางจอฯ แต่กลับมาอยู่ด้านขอบล่างของจอฯ ดังนั้นหากซื้อโปรเจคเตอร์ที่สามารถปรับแก้คีย์สโตนแล้วหวังว่าจะแก้ได้แล้วหวังว่าจะแก้มากกว่ารุ่นที่ปรับไม่ได้ ก็จะเสียเงินเปล่าๆ
            หากดูตามไดอะแกรมของผู้ผลิตโปรเจคเตอร์ ที่ใช้เทคโนโลยีสร้างภาพชนิด LCD  เมื่อตั้งโปรเจคเตอร์บนโต๊ะ ด้านล่างของภาพจะอยู่ต่ำกว่า โต๊ะเล็กน้อย ส่วนโปรเจคเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีสร้างภาพชนิด DLP ด้านล่างของภาพจะยังอยู่สูงกว่า ระดับโต๊ะที่วางโปรเจคเตอร์พอสมควร ซึ่งหากผู้ผลิตไม่ปรับแก้คีย์สโตนด้วยระบบ optical keyston correction แล้วภาพที่ฉายจากโปรเจคเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยี DLP จะยิ่งอยู่ในตำแหน่งที่สูงมากๆ เว้นแต่กรณีที่โปรเจคเตอร์นั้น เป็นแบบฉายระยะสั้น ซึ่งยิ่งสูงยิ่งดี
            เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วทำไม ผู้ผลิตโปรเจคเตอร์ยังคงผลิตรุ่นที่สามารถปรับเลนส์ได้ สำหรับผมจะใช้โปรเจคเตอร์ที่มีระบบปรับแก้คีย์สโตนด้วยวิธี ออพทิคส์ ก็ต่อเมื่อมีการเบิลโปรเจคเตอร์ยี่ห้อเดียวกันและรุ่นเดียวกัน ให้ฉายไปบนจอฯเดียวกัน เพื่อเพิ่มความสว่าง เพราะวิธีนี้จะช่วยประหยัดราคาโปรเจคเตอร์ และอีกกรณีหนึ่งเพื่อฉายภาพสเตอริโอ (ผมไม่ชอบใช้คำว่า 3D เพราะจะไปสับสนกับภาพ 3D ของ Auto CAD) หรือหากมีอะไรขวางทางเดินของแสงระหว่าง จอฯกับโปรเจคเตอร์แล้ว สามารถตั้งโปรเจคเตอร์ให้เยื้องออกไปด้านข้าง โดยใช้เลนส์แก้คีย์สโตน
            มีเกร็ดเล็กๆน้อยๆ เกี่ยวกับการแก้คีย์สโตน คือ พอร้านที่ผมทำงานอยู่ได้เป็นดีลเลอร์ โปคเจคเตอร์ของ Mitsubishi ทางเขาจึงจัดคอร์สอบรมให้
            เริ่มแรกเลย เขาบรรยายถึงโปรเจคเตอร์รุ่นใหญ่ ที่ใช้แผง LCD ขนาดใหญ่ที่ในแคตาล็อกเขียนว่า LCD เป็น ชนิด TFT Polysilicon เขาอธิบายว่า ถ้าเป็น TFT มุมมองจะกว้าง ส่วนรุ่นเล็กในแคตาล็อก เขียนเพียง polysilicon ไม่มีคำว่า TFT ผู้สอนจึงบอกว่า LCD ของรุ่นเล็ก ไม่ใช่ TFT เนื่องจากแผง LCD มีขนาดเล็ก เรื่องมุมมองแคบจึงไม่เป็นอุปสรรค
ผมเลยถามผู้สอนว่า มิตซูฯ ในต่างประเทศ ยืนยันมาอย่างนั้นหรือ ผู้บรรยายไม่ยอมตอบ ที่ผมถามไปก็เพราะ LCD ชนิด polysilicon ทั้งหมดล้วนเป็น TFT (Thin Film Transister) ถึงแม้ในแคตาล็อค จะไม่แจ้งว่าเป็น TFT ผู้บรรยายก็ไม่ควรรีบสรุปว่า ถ้าเขียนเพียง polysilicon แล้วต้องไม่ใช่ TFT
            ต่อมาเขาอธิบายถึงการแก้คีย์สโตนด้วยระบบออพทิคส์ว่า ใช้วิธีกระดกเลนส์ขึ้น ผมเลยถามว่าไม่ใช่ใช้วิธียกเลนส์ขึ้นทั้งกระบอกในแนวดิ่งหรือ เขาก็ยืนยันว่าใช้วิธีกระดกเลนส์ขึ้น ผมเลยถามว่ากระดกเลนส์ขึ้นเพื่ออะไร เขาบอกว่าเพื่อแก้คีย์สโตน ผมเลยเหน็บว่ายิ่งทำให้เกิดคีย์สโตนมากขึ้น
            ต่อมาเขาอธิบายถึงการแก้คีย์สโตนด้วยวิธีดิจิตอล เขาบอกว่าแก้เฉพาะแนวตั้ง ผมก็ถามเขาอีกว่า เมื่อแก้แนวตั้งให้ตั้งฉากแล้ว ก็ควรแก้ความสูงของภาพด้วย ไม่อย่างนั้น จะไม่ได้สัดส่วน 4:3 เขาก็ยืนยันอีกว่าไม่แก้ด้านความสูง เสร็จแล้วเขาก็ทำให้ดู ปรากฏว่าโปรเจคเตอร์ได้แก้ขนาดภาพแนวตั้งโดยอัตโนมัติ ทำให้ผู้สอนเลยหน้าแตกเล็กน้อย
            ระหว่างพักเข้าห้องน้ำ ผู้สอนมายืนปัสสาวะข้างๆผม แล้วยอมรับว่ากระบอกเลนส์ เคลื่อนขึ้นในแนวดิ่งทั้งกระบอก เพราะเผอิญรุ่นที่ปรับเลนส์ได้นั้น เขาได้ถอดฝาตัวเครื่องออกจึงเห็น
            ขอเสริมอีกนิด LCD ชนิด polysilicon เป็น LCD ขนาดเล็ก แต่จอมอนิเตอร์ LCD มีขนาดใหญ่ ซึ่งผมไม่ทราบว่ามีชื่อว่าอะไร และเดี๋ยวนี้จอมอนิเตอร์ชนิด LCD ล้วนเป็น TFT กันหมดแล้ว เนื่องจากราคาถูกลงและเราสามารถใช้ดูวิดีโอได้
            ผมว่าผู้สอนไปสับสนกับจอมอนิเตอร์ LCD รุ่นเก่าๆซึ่งเป็นชนิด Passive ที่มีมุมมองที่แคบ แถมการตอบสนองก็ช้ามากๆ ขนาดเลื่อนเมาส์ช้าๆ จะเห็น pointer วิ่งเป็นทางเหมือนดาวหาง หากเลื่อนเร็ว pointer จะหายไป แล้วค่อยโผล่หลังจากนั้นอีกสัก 1-3 วินาที ดังนั้นจอ LCD ที่เป็นชนิด passive นี้ไม่เหมาะใช้ดูภาพยนตร์ ที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลาจึงไม่มีใครใช้กับภาพยนต์ (movie) ต่อมาจอมอนิเตอร์ LCD จึงเหลือเพียงชนิด Active TFT
            ที่แย่กว่านั้น เวลาเราฉายภาพจากโปรเจคเตอร์ เราดูภาพที่จอสำหรับภาพฉาย ไม่ใช่ไปเปิดตัวถังโปรเจคเตอร์ออกแล้วมองไปที่ แผง LCD เหตุที่ผมเอ่ยถึง Mitsubishi ก็เพราะวันหนึ่ง เซลล์ฯของเขา มาตำหนิว่าบทความที่ลงในความรู้ไปตำหนิเขา เพื่อให้คำตำหนิของเขาเป็นจริง และถ้าถูกใจเขาแล้วอยากให้ผมตำหนิมากกว่านี้ ผมก็ยังมีมุขเด็ดๆ มาลงได้อีกหลายเรื่อง  

โปรเจคเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยี DLP ขอบล่างของภาพที่ฉายมักจะอยู่เหนือโต๊ะที่วางโปรเจคเตอร์พอสมควร
โปรเจคเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีสร้างภาพ LCD ขอบล่างของภาพที่ฉายมักจะอยู่ต่ำกว่าโต๊ะ ที่วางโปรเจคเตอร์เล็กน้อย

โปรเจคเตอร์ที่ไม่มีระบบแก้ Keystone ซึ่งโรงงานจะตั้งให้อยู่ในตำแหน่ง Maximum มิฉะนั้น ตัวโปรเจคเตอร์จะอยู่ในระดับกึ่งกลางจอภาพ

ภาพที่ฉายขณะแก้ Keystone ด้วยระบบดิจิตอล

ส่วนที่เป็นสีเทา คือ ส่วนที่จำนวนพิกเซลถูกบีบออก รวมทั้งความสว่างในบริเวณนี้ต้องศูนย์ไปเปล่าๆ

           โปรเจคเตอร์ที่แก้ Keystone ด้วยระบบดิจิตอล หากนำมาตั้งฉากกับจอฯ จะเห็นพื้นที่ขนาดการบีบอัดภาพ และแสงสว่างที่ต้องปล่อยทิ้งไป


โปรเจคเตอร์ที่สามารถปรับแก้ Keystone ด้วยวิธี Optical หากตั้งตำแหน่งเลนส์ไว้กึ่งกลาง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่มีการแก้คีย์สโตนโปรเจคเตอร์จะอยู่ในระดับกึ่งกลางจอฯ


การปรับผืนจอให้ตั้งฉากกับโปรเจคเตอร์ ก็สามารถแก้คีย์สโตนได้ รวมทั้งแสงที่สะท้อนกลับก็จะกดต่ำสู่ผู้ชม

การใช้เลนส์แก้คีย์สโตน เพื่อเพิ่มความสว่างจากโปรเจคเตอร์ 2 เครื่อง (ฝรั่งมักเรียกว่า stacking คือการซ้อนโปรเจคเตอร์)

2ก) เมื่อโปรเจคเตอร์ตั้งฉากกับจอฯ จะไม่เกิดคีย์สโตน

2ข) เมื่อโปรเจคเตอร์เงยขึ้น ภาพด้านบนจะใหญ่ขึ้น ทั้งแนวราบและแนวตั้ง

2ค) ภาพที่เป็นคีย์สโตน เมื่อถูกปรับให้ตั้งฉากภาพทั้ง 4 ด้านจะถูกบีบอัด โดยเฉพาะด้านบนและด้านข้าง ส่วนบนแสงที่เกิดจะถูกบล็อกด้วยสีดำ

2ง) ภาพที่แก้คีย์สโตนด้วยวิธีดิจิตอล หากนำโปรเจคเตอร์มาฉายตามปกติ จะเห็นการบีบอัดของภาพและปริมาณแสงและพิกเซลที่ถูกทิ้งไปอย่างเปล่าประโยชน์


คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน 2


 

 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231