ความน่าสงสัยในโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์
  การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพ
  แนวโน้มโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ. 2561
  สีตอน 2
  เลนส์ซูมแท้ไม่แท้
  TV Line
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน2
  ประวัติโปรเจคเตอร์ VDO/Computer
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน1
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  เตรียมตัวก่อนเลือก
ซื้อโปรเจคเตอร์
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
   
 
 
เปรียบต่าง (Contrast) ตอน 4

     
ตอนนี้ก็มาถึง ตอนสุดท้ายของบทความเปรียบต่าง ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นการอธิบายว่า เปรียบต่างคืออะไร  ตอนนี้จะเป็นการแนะนำ วิธีใช้งาน
ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ยากอะไร หรือจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า การปรับเกรสเกล (Gray Scale)
เกรสเกล คือ ระดับความทึบที่ต่างกัน รูปที่ 1  ผมค้นมาจาก Yahoo ที่แบ่งเป็น 256 ระดับ โดยแบ่งเป็น
16 แถวในแนวราบ แต่ละแถวแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส 16 ช่อง รวมแล้วได้ 256 เกรสเกล  
   ไม่ต้องตกใจถ้าท่านเห็นไม่ครบ 256 ระดับ ทั้งนี้ปัญหาอาจเกิดขึ้นจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน เช่น แต่
ละแถวแบ่งออกเป็นช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า ได้เพียง 4 ช่องนั้น  อาจหมายความว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน แสดง
ระดับเกรสเกลได้เพียง 56  ระดับ และบางท่านอาจเห็นแต่ละแถวมีความทึบเท่ากัน นั่นอาจหมายความว่าเครื่อง
คอมพิวเตอร์ของท่านแสดงระดับ เกรสเกลได้เพียง 16 ระดับ
   ไม่ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะแสดงระดับเกรสเกลได้ถึง 256 ระดับ 56 ระดับ หรือ 16 ระดับ เราจะใช้เกรสเกล
เพื่อการปรับเปรียบต่างได้ผลค่อนข้างจะเท่ากัน
    เอาภาพเกรสเกลนี้ฉายผ่านโปรเจคเตอร์ ของท่านแล้วปรับ เปรียบต่าง (Contrast) จนกระทั่งท่านเห็นทั้ง
16 แถบแยกจากกัน หรือ 56 ระดับ หรือ 256 ระดับ อย่างสม่ำเสมอ ก็ถือว่าเป็นการปรับค่าเปรียบต่างได้
ค่อนข้างพอดี
 
 
รูปที่1
คลิกดูรูปขยาย
รูปที่ 2 นี้ก็ได้มาจาก  Yahoo ด้วยเช่นกัน (รูป 2.3 คือภาพต้นฉบับ) ซึ่งรูปนี้เหมาะสำหรับปรับเปรียบต่างของโปรเจคเตอร์หรือจอมอนิเตอร์
ที่เป็นชนิด LCD
    ที่เอาภาพนี้มาลงด้วย ก็เพราะผมต้องการแสดงให้เห็นว่า ที่จริงแล้วเราต้องการปรับเปรียบต่างให้พอดีไม่ใช่ยิ่งสูงยิ่งดี หรือยิ่งต่ำยิ่งเลว เหมือน
ผู้ที่บอกว่าตนมีความรู้ดีบางท่านสอน
     ผมได้เอารูปที่ 2 มาปรับค่าเปรียบค่าด้วยซอฟแวร์ PhotoShop เพราะสามารถปรับค่าเปรียบต่างได้มากกว่าการปรับจากโปรเจคเตอร์
หรือปรับจากจอมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์
     
2.1
  เมื่อปรับค่าเปรียบต่างจนสูงสุด จะเหลือเพียง ขาว กับ ดำ
     
2.2
  เมื่อปรับค่าเปรียบต่างให้สูงขึ้น สีดำกับขาว จะเริ่มแยกจากกันมากขึ้น
     
2.3
  ภาพจาก Yahoo ที่ไม่มีการปรับแต่ง การไล่โทนความเข้มจากมืดไปสว่าง
มีความสม่ำเสมอ
  คลิกดูรูปขยาย  
     
2.4
  เมื่อปรับค่าเปรียบต่างให้ลดลง สีดำจะเริ่มเป็นดำอ่อนและสีขาวจะเริ่มเป็นขาวแก่
ความแตกต่างระหว่าง ดำ กับ ขาว จะน้อยลง
     
2.5
  เมื่อปรับค่าเปรียบต่าง จนต่ำสุด ความต่างระหว่างดำกับขาวไม่มีเหลืออีกต่อไป
จะมีแค่สีเทาตลอดทั้งภาพ ถ้าเป็นภาพถ่ายหน้าคนจะดูแบนไม่มีมิติ
     
รูปที่2
   
เหตุที่ทำเช่นนี้ ไม่ใช่เพื่อสอนการปรับค่าเปรียบต่างให้พอดี แต่เพื่อแสดงให้เห็นว่า ถ้าปรับค่าเปรียบต่างให้สูงเกินไป หรือ ต่ำเกินไปจะเกิด
อะไรขึ้น เหตุที่ต้องมีการปรับค่าเปรียบต่าง ในเครื่องรับโทรทัศน์ก็เพราะ สภาพความสว่างในห้อง เปลี่ยนไป ในห้องที่สว่างมาก เราต้องเร่งความ
สว่างของโปรเจคเตอร์หรือจอมอนิเตอร์ให้สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ความเปรียบต่างสูงตามไปด้วยเราจึงต้องปรับค่าความเปรียบต่างให้ลดลง
    ในกรณีที่สภาพห้องมืด เราต้องลดความสว่างของโปรเจคเตอร์ลง ไม่เช่นนั้นภาพจะสว่างจ้า เมื่อลดความสว่างลง จะทำให้ความเปรียบต่างต่ำ
ตามไปด้วย เราจึงต้องปรับค่าความเปรียบต่างให้สูงขึ้น ในส่วนของโปรเจคเตอร์ ยังมีเรื่องของขนาดจอที่ต่างกันเพิ่มขึ้นมาเป็นอีกเรื่องหนึ่งใน
สภาพความสว่างของห้องที่เท่ากัน ขนาดจอที่เล็กจะสว่างกว่า ขนาดจอที่ใหญ่ เราจึงมีเหตุให้ต้องปรับความสว่าง และความเปรียบต่างควบคู่กัน
ไปด้วย     
    ขอได้โปรดเข้าใจด้วยว่าที่ต้องมีการปรับความเปรียบต่างก็เพื่อปรับภาพให้ดี ไม่ได้หมายความว่าโปรเจคเตอร์นั้นดีหรือเลว และเมื่อปรับ
เกรสเกลได้แล้ว ไม่ได้หมายความว่าภาพนั้นสวยที่สุดแล้ว เพราะเรายังอาจต้องปรับสี และปรับความอิ่มสี(Color saturation) อีกต่างหาก
    ตอนต่อไปจะเป็นเรื่อง อัตราส่วนเปรียบต่าง (Contrast Ratio) ที่หลายคนน่าจะรู้ว่าคืออะไร แต่ส่วนใหญ่เข้าใจไขว้เขว ถึงประโยชน์ แม้แต่ผู้เขียนบทความจากต่างประเทศ  บางท่านยังสับสน
     
     
     
นายตาถั่ว  คลำช้าง
     
เปรียบต่าง(Contrast)
ตอน 1
เปรียบต่าง(Contrast)
ตอน 2
เปรียบต่าง(Contrast)
ตอน 3
เปรียบต่าง(Contrast)
ตอน 4
เปรียบต่าง(Contrast)
ตอนจบ
     
     
     
 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231