มีผู้อ่านบทความความรู้ของผมเป็นประจำ แต่ภายหลังจำไม่ได้แล้วว่าเคยอ่านที่ไหน พอมาเจอที่ AV Comm เขาตื่นเต้นมาก แถมยังจำได้ว่าเขาชอบการพยากรณ์ทิศทางของโสตทัศนูปกรณ์สำหรับปีถัดไป แล้วขอให้ผมเขียนอีกสำหรับ พ.ศ. 2561
ผมอยากให้ผู้อ่านทราบว่า เมื่อ 10 กว่า 20 ปี มาแล้ว ที่ผมได้เคยเขียนพยากรณ์ทิศทางโสตทัศนูปกรณ์สำหรับปีที่จะมาถึง โดยผมจะเริ่มสำรวจในไตรมาศที่ 4 มันเป็นงานที่ผมต้องอุทิศเวลามากๆ แต่ก็ต้องเลิกเขียนด้วยสาเหตุรวมๆ คือทำให้ผมไม่รู้ว่าจะเขียนเรื่องอะไรดีหลังจากนั้น ส่วนสาเหตุหลักคือ ไม่มีคนทำเว็บไซต์ อีกทั้งผมได้หลีกเลี่ยงการทำธุรกิจสินค้าไฮเทคฯ ที่ทำให้ผมต้องเจ็บตัวตลอดเวลา เลยขาดการติดตามเทคโนโลยี ผู้ค้าโปรเจคเตอร์แบรนด์ดังๆจึงยุติที่จะเชิญผมเข้าฟังสัมมนา ซึ่งรวมถึง Kramer ด้วยเช่นกัน
นี่ก็เดือนมีนาคม 2561 ผมจะเขียนอย่างสั้นๆ แต่น่าจะทำให้เห็นแนวโน้มใน พ.ศ. 2561 ได้พอสมควร
ตามความเห็นของผม แนวโน้ม (trend) ของสินค้ามีผลต่อตลาดได้ 3 ทางคือ
1. แนวโน้มที่ไม่กระทบต่อสินค้าเดิม
2. แนวโน้มที่กระทบต่อสินค้าเดิม
3. แนวโน้มที่ต้องใช้เวลาอีกนาน
1. แนวโน้มที่ไม่กระทบต่อสินค้าเดิม
เช่นเครื่องคิดเลขขนาดกระเป๋าเสื้อเชิร์ท ซึ่งผมถือว่าเข้ามาสร้างสินค้าใหม่เอี่ยม เพราะเครื่องคิดเลขเดิมๆมีขนาดใหญ่ ขนาดตั้งโต๊ะและมีราคาสูงมากเมื่อเทียบกับขนาดกระเป๋าเสื้อเชิร์ท ทำให้แม่ค้าแผงลอยสามรถซื้อมาใช้ได้
2. แนวโน้มที่กระทบต่อสินค้าเดิม
เช่นนาฬิกาข้อมือที่ใช้เทคโนโลยีควอตซ์ (quartz) ที่แสนถูกและแม่นยำ ที่ทำเอาโรงงานนาฬิกาขนาดเล็กของประเทศสวิสต้องปิดตัวกันระนาว ส่วนนาฬิกาข้อมือยักษ์ใหญ่ของประเทศสวิส ถ้าจะแข่งในด้านบอกเวลาก็ต้องจอดแน่ ทางออกคือทำเป็นเครื่องประดับกายราคาพรีเมี่ยม
หรืออย่างกล้องถ่ายรูปดิจิทัลที่ทำเอาบริษัทยักษ์ใหญ่อันดับ 4 ของประเทศสหรัฐอเมริกา Kodak ต้องล้มครืน และโรงงานกล้องถ่ายรูปของยุโรปหลายแห่งต้องปิดตัวเอง และขายกิจการให้กับกลุ่มทุนใหม่ อย่างเช่นกล้องถ่ายรูป Leica ที่กลุ่มทุนใหม่ทำเป็นกล้องสะสม (Collection) หรือกล้องประดับบารมี และขายเลนส์ให้กับโรงงานผลิตกล้องถ่ายรูปดิจิทัล ขนาดคอมแพ็คและสำหรับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เพื่อเพิ่มจุดขายให้กับพวกเขา
ส่วนโรงงานผลิตกล้องถ่ายรูปของญี่ปุ่น ที่ไม่สามารถปรับตัวให้เป็นกล้องดิจิทัลได้ ก็ต้องปิดกิจการ หรือขายให้กับโรงงานอื่น แม้แต่โรงงานผลิตกล้องดิจิทัลด้วยกันเอง ก็ยังฟาดฟันกันจนต้องล้มตายกันไป
และที่หนักหน่วงกว่านั้นคือ โทรศัพท์ Smart Phone ที่ยักษ์ใหญ่อย่าง Nokia หรือ BlackBerry ที่ไม่มีใครคิดว่าจะต้องล้มหายช่วงกระพริบตาเดียว Smart Phone ยังทำกล้องถ่ายรูปดิจิทัลราคาประหยัด เครื่องคิดเลขขนาดกระเป๋าเสื้อเชิ้ต PDA GPS Talking Dic นาฬิกาข้อมือราคาประหยัด แทบไม่มีวางขายอีกแล้ว
3. แนวโน้มที่ต้องใช้เวลาอีกนาน
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ รถยนต์ไร้คนขับ และรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทั้ง 2 เทคโนโลยีได้มีการจำหน่ายมาหลายปีแล้ว แต่เมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ต้องใช้คนขับ ก็น่าจะใช้เวลาอีกนาน ผมเองสายตาไม่ดี ก็อยากจะมีรถยนต์ชนิดนี้มาใช้บ้าง ส่วนรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงก็น่าจะมีใช้ไปถึง 20 ปี ขนาดประเทศไทยเองยังผลิตรถยนต์ประเภทนี้อยู่
สำหรับแนวโน้มของโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ. 2561 นี้ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทแนวโน้มที่ต้องใช้เวลาอีกนาน
ผมได้ค้นคว้าว่าเทรนด์ (trend) ของโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ. 2561 นี้มีอะไรบ้างอย่าง
ลวกๆ แต่เท่าที่พอจะค้นได้ก็แต่เพียงเล็กน้อย ถึงกระนั้นก็อยากจะฟันธงว่า โปรเจคเตอร์
แสงเลเซอร์ที่มีความสว่างอยู่ในช่วง 6,000~12,000 ลูเมน เพราะโปรเจคเตอร์แทบทุก
ยี่ห้อต่างก็เร่งผลิตกันออกมาขายมากมายหลายรุ่น มีทั้งเทคโนโลยีสร้างภาพ DLP LCD
และ LCoS ดูคล้ายๆกับว่าต่างกลัวว่าจะตกขบวน และเท่าที่ผมค้นคว้าโปรเจคเตอร์ที่มี |
Cannon Laser Projectors 4K
|
|
ความละเอียดขนาด 8K ที่ใช้แสงเลเซอร์ มีความสว่างถึง 25,000 ANSI ลูเมนก็มี ซึ่งน่าจะอยู่ในเกรดดิจิทัลซีเนมา
(Digital Cinema) ประโยชน์ของแสงเลเซอร์ที่นำมาใช้กับโปรเจคเตอร์ในยุคนี้ที่เด่นชัดคือ เป็นเลเซอร์ diode แบบเดียวกับ
LED(Light Emitting Diode) ที่มีอายุการใช้งานยาวถึง 20,000~25,000 ชั่วโมง หรือ 50,000 ชั่วโมงก็มี
Digital projector |
เมื่อเทียบกับโปรเจคเตอร์ที่ใช้หลอด UHP (Ultra High Pressure) ที่เป็นหลอด
ฉายชนิด discharged mercury lamp ซึ่งสมัย
ก่อนจะเรียกว่าหลอดอาร์ค (arc) ที่อายุการใช้งานจริงควรเป็น 5,000 ชั่วโมง
แต่โรงงานผลิตโปรเจคเตอร์ส่วนใหญ่จะอัดแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้น
เพื่อเพิ่มความสว่าง ทำให้อายุการใช้งานลดเหลือเพียง 2,000 ชั่วโมง |
และผู้ใช้ทั่วไปจะเปลี่ยนหลอดฉายเพียง 2-3 ครั้ง แล้วจะซื้อโปรเจคเตอร์เครื่องใหม่มาใช้แทน ส่วน diode
เลเซอร์นั้น นักวิทยา
ศาสตร์อีเลคทรอนิกส์ จะไม่เรียกไดโอดว่าเป็น หลอดฉาย เพราะมันไม่ใช่หลอดฉาย แต่เป็น SSD (Solid State Device เหมือน
กับ LED) ดังนั้นโรงงานผลิตโปรเจคเตอร์ชอบบอกว่า โปรเจคเตอร์ของเขาไร้หลอดฉาย (Lampless)
ตั้งแต่สมัยที่มีการใช้แสงจาก LED (Light Emitting Diode) ในโปรเจคเตอร์ ผมจะพยายามแนะนำให้ผู้ที่ใช้จะโปรเจคเตอร์ในงานนิทรรศการถาวร หรือใช้ฉายประจำทุกวัน ให้ใช้โปรเจคเตอร์ที่ใช้แสง LED (Light Emitting Diode) เพราะมีอายุการใช้งานยาวไม่ต่ำกว่า 20,000 ชม. เหมือนแสงเลเซอร์ เพราะแสงทั้งสองชนิดต่างก็สร้างแสงจาก diode
สำหรับ DLP 1 แผ่น |
ข้อดีของแสงเลเซอร์ที่มาจากไดโอดยังมีประโยชน์หลายอย่าง เช่นเปิดปุ๊ปติดปั๊ป และสีที่สวยกว่าการใช้หลอด UHP เพราะแสงจาก UHP นั้นเป็นแสงชนิด unorganized light (noncoherent) แต่ผมยังสงสัยเกี่ยวกับแสงเลเซอร์ไดโอด เพราะยังหาข้อมูลไม่ได้ คือแสงเลเซอร์ไม่ว่าจะเป็นแสงสีแดงหรือเขียว จะสว่างระยิบระยับเหมือนกับโดน noise หรือโดน phase cancellation จึงไม่น่าจะเหมาะกับการใช้ฉายภาพ แถมโปรเจคเตอร์ที่ใช้แสงเลเซอร์ก็มักจะพูดแค่เลเซอร์สีน้ำเงิน และก็ phos pher และเท่าที่ผมพยายามจะเสาะหาข้อมูลเกี่ยวกับแสงเลเซอร์ไดโอด
สำหรับ DLP 3 แผ่น |
ผมเข้าใจว่าพวกเขาสามารถแก้อุปสรรคกับเลเซอร์สีน้ำเงินได้แล้ว จึงมีการใช้กับเครื่อง Blue Ray ดังนั้นผมยังไม่แน่ใจว่า โปรเจคเตอร์ที่ใช้แสงเลเซอร์นั้นจะเป็นเลเซอร์แท้ๆ เฉพาะสีน้ำเงินหรือเปล่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ต้องถือว่าเป็นแสง unorganized light แต่จะเป็น Laser Hybrid ผมจะไม่กล้าฟันธงว่า โปรเจคเตอร์ที่ใช้แสงเลเซอร์นั้นมีสีที่สดใส และเที่ยงตรงดังเช่นแสงของ LED
การที่แหล่งแสงเลเซอร์นั้นผลิตด้วยจำนวนที่น้อยมาก ทำให้มีราคาสูงปรีด เมื่อเทียบกับโปรเจคเตอร์ที่ใช้หลอดฉาย UHP ผู้ผลิตโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์ จึงพยายามทำให้โปรเจคเตอร์ระบบนี้ไม่ต้องมีการบำรุงรักษาตลอดอายุของเลเซอร์ไอโอด เช่นไมต้องล้างแผ่นกรองฝุ่น (dust filter) ซึ่งหากคิดราคาโปรเจคเตอร์แบบ Cost of Ownership คือราคาของบวกค่าใช้จ่ายแล้ว โปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์จะมีราคาถูกกว่า และไม่ต้องมีการบำรุงรักษา
แต่เท่าที่ผมได้พยายามแนะนำให้ลูกค้าใช้โปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์ 100% จะเห็นด้วย และประมาณ 80% จะเห็นด้วยกับการใช้โปรเจคเตอร์แสง LED แต่ผมก็ยังไม่เคยขายให้กับใครได้
ดังนั้นเรื่องที่โปรเจคเตอร์เลเซอร์จะครองตลาดโลก ก็ต้องคอยดูกันต่อไป |
|
ทีวี OLEN
เมื่อปลายปี พ.ศ. 2560 ผมได้ไปซื้อ TV LCD เลยโดนคนขายสั่งสอนว่า เดี๋ยวนี้เขาเลิกใช้จอ LCD (Liquid Crystal Display) กันหมดแล้ว เดี๋ยวนี้ต้องเป็นจอ LED (Light Emitting Diode)
ผมเลยถือโอกาสชี้แจง ณ ที่นี้ว่า ถ้าเป็นจอ LED มักจะเป็นจอขนาดใหญ่ ซึ่งมีทั้งชนิดติดตั้งในร่มและกลางแจ้ง เมื่อดูชิดๆจะเห็นเป็นเม็ดพลาสติก
ส่วนจอ LCD นั้นไม่มีแสงในตัว ต้องอาศัยแหล่งแสงจากส่วนอื่น จอ LCD ในยุคก่อนหน้านี้จะนิยมใช้ CCFL (Cold Cathode Fluorescent Lamp) แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็น LED ที่ให้สีที่สวยกว่า
ตอนที่ผมไปซื้อทีวีใหม่ คนขายยังได้แนะนำจอ OLED
(Organic Light Emitting Diode) ผมเลยบอกคนขายว่า O ย่อจาก Organic (อินทรี) เลยโดนคนขายแย้งว่าไม่ใช่ แต่พอผมขอให้เขาบอกว่าถ้าอย่างนั้น O ย่อมาจากคำว่าอะไร คนขายบอกว่าจำไม่ได้แล้ว แต่ไม่ใช่ Organic แน่นอน เรื่องเลยจบเพียงแค่นี้ ไม่มีการโต้แย้งไปมากกว่านี้
ผมได้ยินเรื่องจอ OLED มานานมากแล้ว ตั้งแต่สมัยที่บริษัท Kodak เป็นหัวหอกในเรื่องนี้ ซึ่งตอนนั้นยังผลิตขนาดจอใหญ่ไม่ได้ แถมรุ่นที่ Kodak นำไปใช้เป็นจอมอนิเตอร์กับกล้องถ่ายรูปดิจิทัลขนาดคอมแพ็ค กลับปรากฏในภายหลังว่า OLED สีเขียวใช้ได้ไม่ทน
บริษัท Mitsubishi เองก็เคยทำจอ OLED ขนาดใหญ่ออกมา แต่เป็นชนิด Passive ซึ่งตามความเข้าใจของผม คงใช้โชว์วีดีโอไม่ได้ อันเนื่องมาจากใช้เวลานานเกินไปต่อการตอบสนอง (response time) แต่ยังเหมาะที่จะใช้ฉายภาพนิ่ง เช่น ภาพมอนิเตอร์คอมพิวเตอร์
ปัจจุบันจอ OLED มีผู้เล่นเพียง LG (Lucky Gold Star) และในปีนี้ (พ.ศ. 2561) Panasonic ก็จะจำหน่ายจอ OLED ขนาดใหญ่เหมือนกัน 4 รุ่น ผมเลยทำนายว่าจากนี้ไปจะมีจอ OLED เขามาในตลาดมากขึ้น แต่ที่มีขายในประเทศไทยน่าจะมีขนาดไม่ต่ำกว่า 50”
|
OLED ถือว่าเป็น SSD (Solid State Device) ที่เปล่งแสงออกมาในคลื่นแสงที่แคบ จึงเป็นแสงชนิด Organized Light หรือศัพท์ที่ถูกต้องกว่าคือ (Coherent) ทำให้แสงสวย สวยกว่าจอ LCD ที่ใช้แสงจาก LED ก็จริงแต่เป็นเพราะสีที่เราเห็นจกจอ LCD นั้นเป็นสีที่ได้จากฟิวเตอร์สี ไม่ใช่สีโดยตรงจาก LED |
ดังนั้นผมเชื่อว่าสีที่ฉายด้วย OLED จะสวยมาก และน่าจะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปจ้างคนมาทำ Calibration อย่างนี้คนที่รับจ้างทำ Calibration คนขายเครื่อง Spectrophotometer และซอฟแวร์สำหรับทำ Calibration ก็คงต้องไปเน้นกับพวกรับจ้างพิมพ์ภาพสีขนาดใหญ่มากขึ้น จอ OLED จะให้สีดำที่ดำกว่าจอ LCD เพราะจอ LCD ต้องใช้แสงส่องผ่าน ซึ่ง LCD ไม่ทึบแสงให้ดำสนิทได้ เพราะถ้าทำให้ดำสนิท LCD จะต้องหนาขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อ response time หากชมภาพในห้องที่ค่อนข้างจะมืด จอ OLED จะแสดงภาพที่สดใส (Saturated colour) มากกว่าจอ LCD
|
ความจริงผมได้ไปดูทีวี OLED ที่ PowerBuy ที่ Central World ซึ่งเป็นจอขนาดความละเอียด 4K ผิวจอเรียบ และมองไม่เห็นเป็นเม็ดพิกเซล ด้านสีนั้นเข้มข้นสดใส อย่างที่ฝรั่งเขาบอกว่า High Colour Contrast ลีดำนั้นดีเยี่ยม รวมทั้งมีมุมมองที่กว้างกว่า LCD เนื่องจากฟิวเตอร์สีแดง เขียว น้ำเงินอยู่กันคนละด้าน เสร็จแล้วผมเดินไปดูสมาร์ทโฟนที่ใช้จอ OLED |
ที่ร้าน SMART คนขายที่เป็นสาวสวยไม่เปิดจอให้ดู ได้แต่บอกว่าภาพสวยกว่าละเอียดกว่า ซึ่งก็พูดมั่วๆไปอย่างนั้น แต่ผมไม่โกรธพวกเธอ เพราะคนจ้างเขาจ้างให้มาขายของไม่ใช่จ้างให้มาอธิบายให้ผมฟังคนเดียว นอกจาก OLED จะให้สีที่สวยแล้วแผง OLED ก็จะบางกว่า และเบากว่าจอ LCD และน่าจะสามารถดัดโค้งได้บ้าง แต่ OLED มีราคาที่สูงมาก เช่นจอขนาด 50” จะสูงถึง 60,000 กว่าบาท ขณะที่จอ LCD จะอยู่ที่ 1หมื่นกว่า 2หมื่นบาทเท่านั้น ดังนั้นเรื่องจอ OLED จึงยังต้องเฝ้าคอยกันต่อไป
จอทีวี 8K
ในยุคนี้ไม่ว่าคนๆนั้นจะอยู่ในวงการ A/V หรือไม่ ก็จะพูดถึงทีวีที่มีความละเอียดระดับ 4K แม้แต่แม่ยายของลูกชายของผมก็ยังซื้อ Samsung QLED 4K มาจอหนึ่ง
ทำให้ผมนึกถึงงาน AVTAT ซึ่งเป็นงานแสดงเครื่องเสียงในบ้าน รวมทั้ง Home Theater ของประเทศไทย แล้วผมได้ยินคนขายโปรเจคเตอร์บอกกับลูกค้าว่า ถ้าใครได้เห็นภาพที่มีความละเอียดระดับ 4K แล้วจะกลับไปดูภาพในระดับ Full HD (2K) ไม่ได้ เพราะจะรู้สึกเลยว่าภาพนั้นหยาบไป ขณะที่ทีวีเริ่มจะมีความละเอียดระดับ Full HD ใหม่ๆ คนญี่ปุ่นต่างก็บอกว่า ความละเอียดเดิมๆก็ดีมากแล้ว พวกเขาไม่สนใจ Full HD หรืออย่างในเมืองไทย ตอนที่มีดิจิทัลทีวีใหม่ๆ พวกเขาต่างก็ออกมาสบปรามาศทีวีช่อง 3 ช่อง 7 ที่ยังเป็นอนาล็อค ว่าต้องเจ้งแน่ๆ ใครที่ได้ชมภาพที่คมชัดสีสันที่สดใสก็จะไม่ดูทีวีอนาล็อคกันแล้ว แต่คนดูเขาติดละคร เกมโชว์ ตลก ประกวดร้องเพลง และอะไรทำนองนั้นมากกว่า
พวกทีวีดิจิทัลเลยกลับเป็นฝ่ายเจ้งเอง ต้องไปบังคับให้กศทชไปบังคับทีวีอนาล็อคให้เข้าระบบทีวีดิจิทัล แต่ในงาน CES (Consumer Electronic Show) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา Sharp ได้โชว์ทีวี 8K เต็มพิกัดทุกขนาด แล้วอย่างนี้คนก็น่าจะแห่ไปใช้ TV 8K กันมากขึ้น แต่ผมยังกังวลว่าสถานีโทรทัศน์ ยังไม่มีการส่งสัญญาณภาพ 8K แม้แต่ 4K ก็ยังไม่มี ภาพยนตร์ที่มีความละเอียดระดับ 8K เครื่องสลับสัญญาณภาพ เครื่องกระจายสัญญาณภาพ เครื่องสเกลเลอร์ (Scaler) เครื่องส่งสัญญาณภาพไร้สาย WiFi ที่สามารถรองรับสัญญาณ 8K ก็ยังไม่มี |
|
แต่เผอิญสถานีโทรทัศน์ญี่ปุ่น NHK ก็เพื่อประกาศว่ากำลังพัฒนาการส่งสัญญาณภาพความละเอียดระดับ 8K อยู่ รวมทั้งภาพจะมีความเร็วระดับหนึ่งร้อยกว่า หรือสองร้อยกว่าเฟรมต่อวินาที ที่จะช่วยให้เห็นภาพ Slow motion ได้ อย่างนี้ผมจึงทำนายว่า 8K กำลังเป็นเทรนด์สำหรับ พ.ศ. 2561 แต่ก็ต้องคอยกันหน่อยที่จะเป็นรูปเป็นร่าง
|