|
เปรียบต่าง (Contrast) ตอน 3 |
|
|
|
|
ขอบคุณมากที่ติดตามบทความเรื่องเปรียบต่าง ผมยอมรับว่าผมพยายามดึงเรื่องให้ช้า โดยค่อย ๆ ดำเนินเรื่องที่ละนิดทีละหน่อย เพื่อให้ผู้สนใจ
แวะเวียนมาเยี่ยมที่เว็บไซต์นี้บ่อย ๆ |
อย่างที่ผมได้เกริ่นไว้แต่แรกว่าบทความนี้ผมเขียนขึ้นเองไม่ได้ดัดแปลงจากบทความต่างประเทศ โดยใช้รูปประกอบเพื่อให้ผู้อ่านเห็นปุ๊บเข้า
ใจปั๊บ ดังนั้นอาจมีผิดบ้างบางขั้นตอนได้ พอถึงตอนนี้ผมตัดสินใจลำบากว่าจะดำเนินเรื่องต่อไป หรือพักไว้ก่อน เพื่อจะได้เขียนเรื่องอัตราส่วน
เปรียบต่าง (Contrast Ratio) แทรกเข้ามา |
หากผมพักเรื่องเปรียบต่างไว้แล้วเขียนเรื่องอัตราส่วนเปรียบต่าง จากนั้นจึงค่อยวกกลับมาเขียนเรื่องเปรียบต่างต่อ ผมจะได้เขียนรวดเดียว
จนจบ แต่หากผมดำเนินเรื่องเปรียบต่างต่อไปจนจบ การอธิบายวิธีการปรับแต่งเปรียบต่างจะทำได้ดีในระดับหนึ่ง ส่วนจะรู้วิธีแก้ ความอิ่มของสี
ก็ต่อเมื่ออ่านบทความเรื่องอัตราส่วนเปรียบต่างแล้ว |
ในที่สุดผมเลือกที่จะลุยต่อเรื่องเปรียบต่างจนจบ ต่อไปนี้เป็นภาพที่ผมก๊อปปี้จากนิตยสารภาษาไทยฉบับหนึ่งที่มีค่าเปรียบต่าง คละกันทั้งเล่ม |
|
|
|
|
|
ไหน ๆ ก็ไหน ๆ ผมขอเฉลยเลยว่า ภาพที่เปรียบต่างดี ทำให้ดูมีมิติ ซึ่งเป็นเรื่องของการ
รับรู้ (perception) ไม่ได้หมายความว่า เปรียบต่างคือมิติอย่างที่มีผู้รู้บางท่านอธิบาย
ผมหวังว่าผู้อ่านจะพอสังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างภาพที่มีค่าเปรียบต่างสูง
(High Contrast) ภาพที่มีค่าเปรียบต่างพอดี (Good Contrast) และภาพที่มีค่าเปรียบต่าง
ต่ำ (Low Contrast) นั้นเป็นอย่างไร เราต้องการภาพที่มีค่าเปรียบต่างพอดีไม่ใช่ค่าเปรียบ
ต่างยิ่งสูงยิ่งดี
|
|
|
|
|
|
ครั้งต่อไปผมจะบอกวิธีปรับเปรียบต่างอย่างง่าย ๆ บางคนพอเห็นเข้าอาจร้องอ๋อ หลังจาก
นั้นผมจะได้เริ่มเรื่องอัตราส่วนเปรียบต่าง ซึ่งหลายคนพอทราบแต่ไม่รู้ว่าใช้อย่างไร
พบกันใหม่มื้อหน้า สบายดี (ผมจำคำพูดนี้จากรายการวิทยุรายการหนึ่งที่ส่งมาจากประเทศ
ลาว ซึ่งขึ้นชื่อในขณะนั้นสมัยที่ผมเป็นวัยรุ่นผมฟังคลื่นนี้แทบทุกวัน ซึ่งก็คือ VOA Voice of
America) |
นายตาถั่ว คลำช้าง |
|
|
|
|
|
|