คีย์สโตน (Keystone)
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
   
 
เตรียมตัวก่อนเลือกซื้อโปรเจคเตอร์
     ผมเคยเขียนที่เว็บไซต์ของผมว่าจะไม่เขียนบทความแนะนำการเลือกซื้อโปรเจคเตอร์ เพราะเคยเขียนขึ้นมาหลายรอบแล้วแต่ไม่ได้เรื่อง เนื่องจากทั้งเยิ่นเย้อและสับสน แถมมีบทความทำนองนี้ของคนอื่นที่ผมเห็นว่าใช้ได้ (น่าจะแปลมาจากบทความต่างประเทศ)

     แต่ AV Comm ยืนยันที่จะให้ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมาสำหรับการเปิดตัวของเว็บนี้ ดังนั้นผมจะลองเขียนขึ้นใหม่ แต่จะเป็นแค่ขั้นเตรียมตัวก่อนเริ่มเลือก
1. กำหนดความต้องการ
     ควรกำหนดความต้องการที่เป็นไปได้ ไม่ใช่คุยๆไป ไอเดียเริ่มกระฉูด ต้องการฉายกลางแจ้งกลางวันแสกๆและโปรเจคเตอร์มีขนาดเล็กพอใส่ในกระเป๋ากางเกงได้ เรื่องนี้เกิดขึ้นจริงๆกับผมเมื่อกว่า 10 ปีมาแล้ว
     เมื่อรู้ความต้องการ ต้องมั่นคงไม่วอกแวก พอเห็นลูกเล่นของโปรเจคเตอร์ยี่ห้อหนึ่ง หรือเห็นความสว่างมากๆของอีกยี่ห้อหนึ่ง แล้วเกิดหลงรัก คราวนี้หาเหตุผลที่ต้องซื้อโปรเจคเตอร์ตัวนั้นให้ได้ อย่างนี้เรียกว่า เสียศูนย์
     มีรายหนึ่งซื้อโปรเจคเตอร์ราคากว่า 700,000 บาท เพราะเกิดหลงไหลความสว่างที่ 2700 ลูเมน ( นั่นเมื่อกว่า 10 ปีมาแล้ว ) แม้ผมจะแนะนำให้เลือกโปรเจคเตอร์ที่สว่างน้อยกว่า แล้วเอาเงินที่เหลือไปปรับปรุงห้องให้เหมาะสมกับการฉายภาพ ท่านก็ไม่รับฟัง พอครบ 1 ปีเป้งการรับประกันก็สิ้นสุด เครื่องก็เกิดเสีย ค่าซ่อมก็สูงถึงกว่า 5 แสนบาท โรงเรียนมีงบไม่พอ เลยต้องทิ้งโปรเจคเตอร์เครื่องนั้นไปเฉยๆ

2. กำหนดงบประมาณ
     เช่นกันกับวัตถุประสงค์ ไม่ควรวอกแวก ถ้ามีงบฯสูง ปัญหาแทบไม่มี แต่ถ้างบฯน้อยเกินไป อาจต้องไปซื้อโปรเจคเตอร์ที่ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ ถ้าเป็นอย่างนี้คงต้องเสียเงินไปเปล่าๆ น่าจะคืนงบฯไปจะประหยัดกว่า
     ในงาน World Didac Asia 2009 ที่จัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต อาจารย์ หลายท่านบ่นว่าของแพง ส่วนคนขายก็จะตอบว่า ถ้าอยากได้ของที่ทำงานได้ตามที่ต้องการ ราคาก็จะสูงตามที่เขาได้เสนอไป
     ผมขอนำบทความหนึ่งที่โชว์อยู่ในร้านค้ารายหนึ่งในศูนย์การค้าพันทิพย์พลาซ่า ซึ่งเมื่อแปลเป็นภาษาไทยมีใจความว่า
     “ไม่เป็นการฉลาดที่จะซื้อของที่แพงไปหรือถูกไป หากซื้อของที่แพงไป สิ่งที่เสียคือต้องเสียเงินเพิ่มอีกเล็กน้อย แต่ถ้าซื้อของที่ถูกไป แล้วของที่ได้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ ท่านอาจสูญเงินทั้งหมด”

3. เลือกยี่ห้อ
     หลายรายชอบถามคนขายว่า ขายยี่ห้ออะไร ยิ่งเป็นกลุ่มที่ชื่นชอบยี่ห้อยอดนิยมอาจถามว่า ขาย Sony หรือ Panasonic หรือเปล่า ส่วนพวกที่มีความมั่นใจในความรู้ของตน อาจจะขอแค่แคตตาล็อกเพื่อเอาไปศึกษาเอง ผมว่าน่าจะเปิดใจให้กว้างกว่านั้น ให้โอกาสคนขายบอกข้อดีเด่นของยี่ห้อของเขาบ้าง บ่อยครั้งที่ลูกค้าพึ่งจะทราบว่าแท้จริงแล้วเขายังไม่อะไรรู้อีกมาก
     บางยี่ห้อรับประกันหลอดฉาย 6 เดือน ประกันเครื่อง 1 ปี บางยี่ห้อรับประกันหลอดฉายฯ 1 ปี ส่วนตัวเครื่องรับประกัน 2 ปีก็มี 3 ปีก็มี ผมว่า 3 ปีนี่คุ้ม เพราะมีโอกาสที่เครื่องจะเสียอย่างน้อย 1 ครั้ง ในปีที่3
     มียี่ห้อหนึ่งถ้าหลอดฉายเสียใน 30 ชั่วโมงแรก เขาจะไม่รับผิดชอบ ทั้งๆที่ของใหม่โอกาสที่หลอดจะเสียใน100 ชั่วโมงแรกสูง หลังจากนั้นมักไม่พบปัญหาอะไร อีกอย่างเขาก็ไม่ได้แจ้งเงื่อนไขนี้ให้ลูกค้าทราบมาก่อน
     บางยี่ห้อพอใช้ไปประมาณ 500 ชั่วโมง หลอดฉายมืดไปมากจนทนไม่ไหว ผู้ขายก็ยังไม่รับผิดชอบบอกว่ายังใช้ได้อยู่ บางยี่ห้อบริการแย่ กว่าจะซ่อมเสร็จใช้เวลา 3 – 6 เดือน ( ตั้งครึ่งปี )
     ที่ทะเลาะกันบ่อยๆคือ บางยี่ห้อแม้พบว่าของเสียตั้งแต่แกะกล่องก็ไม่ยอมเปลี่ยนเครื่องใหม่ให้ ต้องคอยให้ซ่อมอย่างเดียว กว่าจะได้ของมาใช้ ราคาโปรเจคเตอร์ก็ตกลงไปแล้ว 3,000 – 5,000 บาท และคนขายก็ไม่รับผิดชอบส่วนนี้




 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231