คีย์สโตน (Keystone)
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
   
 
เตรียมตัวก่อนเลือกซื้อโปรเจคเตอร์ หน้า 3
7 เตรียมตัวก่อนไปทดลองของจริง
     หากท่านต้องการไปดูโปรเจคเตอร์ ขอให้วัดความสูงของจอฯที่จะใช้และระยะระหว่างจอฯกับผู้ชมแถวหน้า เวลาไปให้หาเพื่อนที่มีความรู้ด้านภาพจริงๆไปด้วย และที่สำคัญกว่านั้นชวนคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ไปด้วย เวลาชมให้ยืนห่างจากจอฯ ในอัตราส่วนเดียวกับที่วัดได้ในห้องประชุมของท่าน บางคนเมื่อไปดูของชอบยืนชิดจอฯ แต่ถ้ายืนดูในระยะเดียวกับที่แนะนำไว้ ภาพที่ดูคมกว่าในระยะประชิดอาจดูไม่แตกต่างจากโปรเจคเตอร์ที่ภาพคมน้อยกว่า ถ้าเป็นอย่างนี้ ผมถือว่าคะแนนเท่ากัน
     เมื่อกลับมาแล้วให้สอบถามคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ว่าเขาเห็นเป็นอย่างไร ที่ให้ทำอย่างนี้เพราะในการใช้งานจริง ผู้ชมส่วนใหญ่จะไม่ใส่ใจกับรายละเอียดปลีกย่อยของภาพที่ฉายมากนัก เมื่อเป็นอย่างนั้น เราไม่ควรให้น้ำหนักกับปัญหานี้มากเกินไป

8. ตัดสินใจซื้อแต่เนิ่นๆ
     การไม่ตัดสินใจซื้อก่อนการใช้จริงแต่เนิ่นๆ จะมีผลไม่ค่อยดีบางประการ
          1. ของที่อยากได้เกิดขาดตลาด แต่เวลาใช้งานกระชั้นรอไม่ได้ เลยต้องยอมซื้อของที่แพงกว่านั้นหรือด้อยกว่านั้นแทน           2. ไม่มีเวลาซ้อมงานพรีเซ้นก่อนวันงานเพียงพอ           3. ในที่สุดอาจไม่ได้ของมาใช้ เพราะอาจติดขัดโน่นนี่ เช่นเงินหมดก่อน อะไรทำนองนั้น หลังจากซื้อไม่ทันใช้งาน ความกระตือรือร้นที่จะซื้อก็จะพลอยเหือดหายหมดไป พองานต่อไปก็เร่งๆจัดซื้อ แล้วก็ซื้อไม่ทันเช่นเดิม เป็นอย่างนี้ไปหลายปี ในที่สุดก็เลิกคิดที่จะซื้อโปรเจคเตอร์ แล้วใช้วิธียืมของคนอื่นยันป้าย

     เรื่องต่อไปนี้ขอให้ใช้เป็นเพียงข้อสังเกตุ ผมไม่ขอยืนยัน เพียงแต่ให้ระมัดระวังเมื่อซื้อโปรเจคเตอร์จากผู้ขายเหล่านี้
          1 ผู้ค้าโปรเจคเตอร์ที่โฆษณาว่า มีโปรเจคเตอร์ใหม่ให้เช่าในราคาถูก เพราะเขาอาจนำเครื่องที่เอาไปให้เช่ามาขายให้กับท่านก็ได้
          2 ผู้ค้าโปรเจคเตอร์ที่ฉายโชว์ในร้านตั้งแต่เปิดร้านตลอดทั้งวันจนปิดร้าน หากเขายังขายไม่ได้แต่ชั่วโมงการใช้หลอดฉายครบ 200 ชั่วโมงแล้ว เขาจะนำกลับไปบรรจุในกล่องอย่างเดิม แล้วนำเครื่องใหม่มาฉายแทน หากใครมาซื้อ เขาก็จะนำเครื่องที่ฉายครบ 200 ชั่วโมง (เท่ากับ 10% ของอายุหลอดฉาย) มามอบให้ท่าน
          3 บางครั้งผู้ขายที่ตั้งโปรเจคเตอร์เป็นแถวแล้วฉายโชว์ในห้างของเขา เขาจะปรับภาพทั้งหมดให้ดูเหมือนกันหมด เมื่อผู้ซื้อไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างได้ ในที่สุดเลยเลือกซื้อเครื่องที่มีราคาต่ำที่สุด บางแห่งเขาจะปรับแต่งภาพโปรเจคเตอร์รุ่นที่เขาต้องการเชียร์ ให้สวยที่สุด ส่วนเครื่องอื่นทำให้ดูด้อยลง ผู้ซื้อก็จะเลือกเอาเครื่องที่ฉายภาพได้สวยที่สุด
           4 บางรายใช้จอสำหรับฉายภาพที่สว่างเป็นพิเศษกว่า จอฯทั่วๆไป คนที่มีประสบการณ์เท่านั้นถึงจะพอสังเกตุได้ เมื่อซื้อกลับมาฉายที่โรงเรียนไหงไม่สว่างอย่างที่เห็นในโชว์รูม
           5 การได้รับคำแนะนำจาก PC (แปลว่าอะไรผมไม่ทราบ ถามเจ้าตัวก็ไม่รู้ น่าจะมาจากคำว่า Product Consultant) ประจำยี่ห้อ ท่านต้องระมัดระวังให้มากหน่อย
เพราะเขาได้เงินเดือนเพียงเล็กน้อย ต้องอาศัยรายได้เพิ่มจากจำนวนการขาย ผมพบว่าพวกนี้จะเชียร์แต่สินค้าของเขาอย่างไม่ลืมหูลืมตา โดยไม่ยอมเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อได้รับฟังข้อดีของยี่ห้ออื่นบ้าง

     บทความนี้ผมเขียนขึ้นจากประสบการณ์ อาจมีขาดตกบกพร่องอีกมาก ซึ่งตอนที่เขียนนึกได้แค่นี้ หากใครมีประสบการณ์ดีๆ กรุณาส่งบทความของท่านมาร่วมกับเรา แล้วเราจะมีของหรือเงินสมนาคุณ

OEM
     ย่อมาจาก Original Equipment Manufacture คือ เอาของยี่ห้ออื่นมาติดตรงของตนเอง ความจริงปัญหานี้มักพบกับการออกสเป็คจัดซื้อของหน่วยงานราชการที่ใช้กีดกันยี่ห้ออื่น สินค้า OEM ไม่ได้หมายความว่าไม่ดี ผมเองยังชอบขายโปรเจคเตอร์ OEM อยู่ 2 ยี่ห้อ เนื่องจากบริการดีกว่าผู้ผลิตโดยตรง จึงแนะนำผู้ซื้อว่าไม่ควรนำเรื่องนี้ มาเป็นปัญหา SONY PANASONIC เองก็มีสินค้า OEM อยู่ไม่น้อย แต่พวกเขาต้องรับผิดชอบต่อสินค้าที่เขาขาย ไม่อยากนั้นจะเสียยี่ห้อหมด

เลือกผู้ขาย
     หลายครั้งผมอยากโทษผู้ซื้อมากกว่า ขอยกตัวอย่างถึงจะเห็นได้ชัดเจนกว่า
     หลยปีมาแล้ว หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ลงข่าวเตือนผู้ที่ไปซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ ในศูนย์การค้าพันทิพย์พลาซ่าว่า หากไปต่อราคาแล้วจะโดนเอาของไม่ดีมาให้ อาจเป็นไปได้ว่าผู้เสียหายมีสายสัมพันธ์กับหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ เมื่อรู้ว่าโดนโกง(ผมไม่แน่ใจว่าเขาถูกโกง) เลยให้หนังสือพิมพ์ช่วยประจานให้
     ผมเคยอยู่ในศูนย์การค้าพันทิพย์พลาซ่าและเคยพบเห็นผู้มาช็อปที่อยากได้อะไรมากๆในราคาถูกที่สุด เดินต่อรองราคาทั่วทั้งตึก บางร้านก็ถูก ต่อรอง 5-6 รอบ เชื่อไหมว่าการทำอย่างนั้นเขาได้ของเลวครบเครื่อง อาจเป็นของตกรุ่น เทคโนโลยีเก่า อาจเป็นฮาร์ดดิสก์ความจุสูงแต่ทำงานช้าเป็นต้น เสร็จแล้วมาโกรธคนขายทั้งๆที่น่าจะโกรธตนเอง บางคนมาบ่นเรื่องงานติดตั้งโปรเจคเตอ์ที่ไม่เรียบร้อย ความจริงเขาไม่น่าบ่นเพราะ ผู้ติดรายนั้นคิดค่าติดตั้ง 5,000 บาท ขณะที่อีกรายคิด 6,500 บาท เขาจึงไม่ควรหวังว่างาน 5,000 บาท ต้องดีเท่ากับงาน 6,500 บาท เพราะถ้าอย่างนั้นราบที่คิด 6,500 บาทก็จะอยู่ไม่ได้
     มีอยู่รายหนึ่งเดินเข้ามาเอ็ดตะโรหาว่าผมหลอกลวง เขาหาว่าผมได้แนะนำสินค้า ซึ่งจริงๆแล้วทำไม่ได้ตามที่ผมอ้าง ผมเลยถามเขาว่า เขารู้ได้อย่างว่าทำไม่ได้ทั้งๆที่ยังไม่ได้ซื้อเลย เขาบอกว่าเขาได้ซื้อแล้วจากรายอื่นถึงได้รู้ว่า ทำงานไม่ได้ตามที่ผมอ้าง
     ผมเลยเตือนความจำเขาว่าครั้งนั้นผมได้สาธิตให้ดูว่าทำได้ จึงไม่ควรมาตำหนิผม เขาเลยบอกว่าแต่ร้านที่เขาซื้อทำไม่ได้ จึงเป็นหน้าที่ของผมที่ต้องบริการให้เขา
     ผมจึงบอกว่าเขาไม่ใช่ลูกค้าของผม และผมบริการเฉพาะลูกค้าของผม ไม่ใช่ต้องไปบริการให้ลูกค้าร้านอื่น เขาจึงด่าว่าผมเป็นพ่อค้าที่เลว ที่รู้วิธีการแก้ปัญหาแล้วผมไม่ช่วย ผมเลยขอให้เขาไปด่าผู้ที่ขายให้เขาไม่ใช่มาด่าผม



 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231