ความน่าสงสัยในโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์
  การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพ
  แนวโน้มโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ. 2561
  สีตอน 2
  เลนส์ซูมแท้ไม่แท้
  TV Line
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน2
  ประวัติโปรเจคเตอร์ VDO/Computer
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน1
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  เตรียมตัวก่อนเลือก
ซื้อโปรเจคเตอร์
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
   
 

สีตอน 3

  ขออภัยที่กว่าจะเขียนบทความเรื่อง สีตอน 3 ก็ห่างจากสีตอน 2 กว่า 1 ปี ซึ่งบทความตอนนี้ ผมขอสารทยายยาวหน่อย เพราะอยากเขียน
ครั้งหนึ่ง บ.โกดัก (ประเทศไทย) จ.ก บอกว่าจานสะท้อนแสงหลังหลอดฉายรุ่นใหม่ของเครื่องฉายสไลด์ของเขาที่มีชื่อว่า dichroic mirror จะสะท้อนเฉพาะแสงสว่างไปข้างหน้า และจะกระจายความร้อนออกด้านหลัง


หลอดแสงสว่างเฮโลเยน (Halogen) แรงดันต่ำ ที่มีถ้วยสะท้อนแสงชนิด Dichroic mirror ในตัว ที่ให้แสงทีมีความร้อนอย่างเช่นแสง IR ทะลุออกด้านนอกถ้วยได้

ซึ่งผมก็ได้สังเกตเห็นว่าจานสะท้อนแสงรุ่นใหม่ของโกดักทำด้วยแก้ว แทนที่จะเป็นโลหะอย่างที่แล้วๆมา แต่ผมไม่เชื่อว่ามันสามารถแยกให้ความร้อนทะลุออกด้านหลังจานสะท้อนแสงได้ ผมว่าโกดักมั่วมากกว่า และตอนนั้นผมก็ไม่ได้ใส่ใจว่าคำว่า dichroic แปลว่าอะไร
ครั้งหนึ่งขณะที่ผมเดินชมงานนิทรรศการ Photokina ที่เมืองโคโลญประเทศเยอรมนี ที่ห้อง Hall 12 ซึ่งเป็นห้องโชว์โสตทัศณูปกรณ์โดยเฉพาะ ผมได้เห็นบูธใหญ่บูธหนึ่งชื่อ DOCTOR  GmbHที่โชว์ชิ้นส่วนโลหะเล็กๆและเลนส์มากมาย ที่วางระเกะระกะ โดยมีตาแก่ตัวเล็กๆชาวเยอรมันนั่งก้มหน้าก้มตาทำอะไรอยู่ก็ไม่รู้ โดยไม่สนใจที่จะลุกขึ้นมาต้อนรับผม ทั้งๆที่บูธของเขาก็มีแต่ผมเข้าไปชมเพียงคนเดียว อีกทั้งเขาก็ไม่มีลูกน้องอยู่ด้วย
แล้วผมก็เห็นเขาโชว์เลนส์ฉายสไลด์ ขนาดที่มีทางยาวโฟกัส 85 มม. F2.8


เลนส์ฉายสไลด์ เลนส์ฉายสำหรับสไลด์ 35มม. ยี่ห้อ DOCTOR ที่ซื้อกิจการมาจาก Will Wetzler ซึ่ง DOCTOR เป็นผู้ประดิษฐ์ Dichroic mirror

ซึ่งถือว่าเป็นเลนส์ฉายสไลด์ขนาดมาตรฐานสำหรับฟิลม์สไลด์ขนาด 35มม. (24*36มม.) และดูๆก็ไม่น่าสนใจ ต่อมาผมก็เห็นชุดเลนส์ควบแน่น (Condensing lens) ของเครื่องฉายสไลด์ขนาด 35 มม. ที่ดูแล้วก็พอจะดูน่าสนใจบ้าง เพราะดูคล้ายๆกับเป็นเลนส์ชนิด aspherical lens ที่แพงและยังไม่เคยเห็นเครื่องฉายสไลด์ยี่ห้อไหนใช้ (ความจริงเลนส์ควบแน่นของเครื่องฉายสไลด์ Kodak Caroosel ก็ใช้เลนส์ควบแน่นชนิด aspherical ที่ทำด้วยพลาสติก

แต่ดูแล้วไม่ดีเท่ากับของ DOCTOR ) และผมก็ได้เห็นจานสะท้อนแสง dichroic mirror ที่ใช้ในเครื่องฉายสไลด์ Kodak ทำให้ผมทราบว่าใครคือผู้ผลิตจานสะท้อนแสง dichroic mirror ให้ Kodak ซึ่งก็คือบริษัท Doctor GmbH  นี้เองและทำให้ผมสนใจที่จะติดตามข่าวคราวของสินค้าตัวนี้

เนื่องจากงาน Photokina จัดเป็นประจำทุกๆ 2 ปี ดังนั้นในอีก 2 ปีต่อมา ผมก็ได้เห็น dichroic filter จากหลายๆโรงงาน เช่น Hoya ของญี่ปุ่น และบริษัทที่ผลิตไฟเวทีก็ใช้ dichroic filter เช่นกัน

ต่อมาผมก็เห็น Doctor เข้าไปซื้อกิจการเกี่ยวกับเลนส์ อย่างเช่น บริษัทหนึ่งของเยอรมนี ซึ่งเมื่อสมัยก่อนผมเคยซื้อเลนส์ฉายสไลด์จาก Will Wetzlar ที่ผมจำชื่อนี้ได้ก็เพราะ เมือง Wetzlar เป็นเมืองที่โรงงานกล้องถ่ายรูปไลก้าไปตั้งอยู่ และเลนส์ WILL WETZLAR ถือเป็นเลนส์ฉายไลด์ที่ผมก็ขายอยู่เช่นกัน

ต่อมา WILL WETZLAR ก็ขายกิจการให้บริษัท Hund และก็ขายให้กับอีกบริษัทที่ผมก็จำชื่อ ไม่ได้ก่อนจะเปลี่ยนเป็น DOCTOR  ที่มีคุณภาพเหนือกว่า ISCO OPTICS และเมื่อประเทศเยอรมนีตะวันตกรวมเข้ากับประเทศเยอรมนีตะวันออก รัฐบาลก็ให้เงื่อนไขจูงใจให้กับนักลงทุนจากเยอรมนีตะวันตกที่จะเข้าไปกอบกู้กิจการของโรงงานฝั่งตะวันออก โดยให้ผลประโยนช์ทางด้านเสียภาษีเป็นเวลา 5 ปี เพื่อเป็นการจูงใจโดยมีระยะเวลา 5 ปีให้กับนักลงทุนชาวเยอรมนีตะวันตก

ซึ่ง Doctor ก็เข้าไปซื้อโรงงานกล้องถ่ายรูป PRACTICA
ความจริงโรงงาน PRACTICA เดิมชื่อ ZEISS แต่เมื่อประเทศเยอรมนีแบ่งออกเป็นตะวันออกและตะวันตก เขาใช้ชื่อเดิมไม่ได้ จึงเปลี่ยนเป็น PRACTICA และสินค้าของเขาก็เหนือกว่า ZEISS ตะวันตก
แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจนี้ และหลังจากครบกำหนด 5 ปี กับผลประโยชน์ด้านภาษี บริษัท Doctor ก็ทรุดฮวบ ไม่นานคุณ Doctor ก็เสียชีวิต และบริษัทของเขาก็ถูกขายทอดตลาด โดยส่วนใหญ่บริษัท Bosch ผู้ผลิตสินค้าจำพวกเครื่องมือช่าง ที่ทำงานด้วยไฟฟ้า เช่น สว่านมือไฟฟ้าและอุปกรณ์รถยนต์ เช่น หัวเทียนแตร ไฟใหญ่หน้ารถยนต์ ซึ่งไฟหน้ารถนี้ใช้จานสะท้อนแสง dichroic ของ Doctor ก็มาซื้อกิจการนี้ แต่ซื้อเฉพาะ dichroic


dichroic filter ใช้วิธีให้แสงสีขาวส่องมาที่แผ่นฟิวเตอร์เป็นมุม 45 องศา ด้วยการกำหนดว่าจะให้คลื่นแสงที่มีความถี่ที่กี่นาโนเมตร์แล้วแสงที่มีความถี่ที่ต่ำกว่าจะทะลุตรงออกไปด้านหลัง ส่วนแสงที่มีความถี่สูงกว่าจะสะท้อน 45 องศา ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วจะเป็น 90 องศาจากจุดจ่ายแสง ซึ่งในโปรเจคเตอร์ที่ใช้แผ่น LCD 3 แผ่น หรือ DMD 3 แผ่น เขากำหนดไว้ที่ความถี่หนึ่งเฉพาะคลื่นสีแดงผ่านทะลุไป ส่วนแสงสีเขียวและน้ำเงิน ที่มีความถี่สูงกว่าจะสะท้อนไปอีกทางหนึ่ง ซึ่งก็จะไปเจอกับ dichroic filter อีกแผ่นหนึ่ง ที่จะให้คลื่นแสงสีเขียวผ่านไปด้านหลัง ส่วนคลื่นแสงสีน้ำเงินที่มีความถี่ของแสงที่สูงกว่าจะสะท้อนไปอีกทางหนึ่ง
ด้วยการแยกแสงสีขาว ออกเป็นสีแดง เขียว และน้ำเงินด้วยวิธีนี้ จึงไม่มีการสูญเสียความสว่างอย่างเช่น การใช้วิธีกรองแสง ทำให้โปรเจคเตอร์ที่ใช้วิธีแยกสีด้วย dichroic mirror สว่างกว่าโปรเจคเตอร์ที่ใช้ฟิวเตอร์กรองแสง
ระบบกรองแสง และระบบแยกสีออกจากแหล่งกำเนิดแสงสีขาวนับวันจะค่อยๆลดบทบาทลง ต่อไปเราจะค่อยๆเห็นแหล่งกำเนิดแสงที่ใช้แสงที่มีคลื่นความถี่แคบๆมากขึ้น ซึ่งหากไม่มีอุปสักอะไร ผมจะเขียนถึงแหล่งกำเนิดแสงที่มีการวิวัฒนาการในปัจจุบันเร็วมากขึ้น
ส่วนคำว่า dichroic นั้นคำว่า di แปลว่า 2 ส่วนคำว่า chroic แปลว่า สี ซึ่งเขาคงหมายถึงการแยกสีออกเป็น 2 สี
สำหรับจานสะท้อนแสงนั้น เขาให้แสงที่ตามนุษย์สามารถเห็นได้ (visible light) นั้นเขาให้สะท้อนกลับจากจานสะท้อนแสง ส่วนคลื่นแสง Infra Red (IR) ที่สายตามองไม่เห็น และเป็นคลื่นแสงความร้อนที่มีความถี่ต่ำ ทำให้ทะลุออกจากด้านหลังจาน ทำให้สามารถลดความร้อนออกไปได้มาก
ดังนั้นสิ่งที่บริษัทโกดักบอกว่าจานสะท้อนแสงชนิด dichroic ของเขา สามารถกรองความร้อนออกด้านหลังด้านสะท้อนแสงจึงเป็นเรื่องจริง
การแยกแสงสีขาวออกเป็นสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน มีใช้ในเครื่องฉายโปรเจคเตอร์ทั้งที่เป็น LCD 3 แผ่น และ DMD (ของ DLP) 3 ship แม้กระทั่ง LcoS ต่างใช้แยกแสงแดง เขียว น้ำเงิน ออกจากสีขาวล้วนใช้ dichroic filter ทั้งสิ้น   

 


 

 


นายตาถั่ว  คลำช้าง
(16 /01 /63)

 


 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231