เคยมีด็อกเตอร์ที่เรียนจบวิชาฟิสิกซ์จากประเทศปะกิด มาสอนผมว่าเลนส์เฟรสเนลนั้นเกิดจากการเอาของมีคมมากรีดแผ่นกระจกให้เป็นเส้นวงกลมซ้อนๆกัน ทำเอาผมช็อกน้อยๆ ต่อมาผมก็ได้พบกับอาจารย์โสตฯที่เรียนจบวิชาโสตฯในระดับปริญญาโท มาพูดกับผมในทำนองเดียวกัน
เลยทำให้ผมรู้ที่มาของการสอนแบบนี้ว่ามาจากที่ใด รวมทั้งรู้สึก
หดหู่ว่าเขาเอามาสอนแบบนี้ได้อย่างไร ทำไมจึงต้องรีบสรุปเอาเอง
ว่าต้องเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ทำไมไม่ค้นคว้า มันเป็นแบบเดียว
กับบทความของผมเรื่อง TV Line ที่บริษัทมิตซูบิชิอีเลคทริคกันยง
วัฒนาจำกัด มาบรรยายว่า TV Line คือเส้นบรรทัดบางๆบน
จอภาพ เมื่อผมแกล้งบอกว่า TV Line ไม่ใช่อย่างที่เขาบรรยาย ก็
หงิกทันที่ |
รูปที่ 1 ไฟ Spot Light ที่ใช้เลนส์ฟรีเนลแทนเลนส์นู้น
|
|
ครั้งหนึ่งผมเคยสั่งซื้อเลนส์เฟรสเนล จากผู้ประกอบเครื่องฉายแผ่นใส (Overhead projector = OHP) ในประเทศไทย
(ผู้ค้ารายนี้อ้างว่าตนเองเป็นผู้ผลิตเครื่องฉายแผ่นใสแล้วส่งไปขายให้กับโรงงานในประเทศสโลเวเนีย แต่แท้จริงแล้ว
ตนเองเป็นแค่ผู้ซื้อชิ้นส่วนต่างๆจากโรงงานนี้ เว้นตัวถังที่ผลิตเองในประเทศไทย และไม่เคยส่งกลับไปขายให้กับโรงงานนั้น) แล้วผมก็ขอทราบ
ทางยาวโฟกัส ลูกสาวเจ้าของร้านก็ถามกลับว่าอะไรกันเลนส์เฟรสแนล
มีทางยาวโฟกัสด้วยหรือ ผมก็บอกว่าเมื่อเลนส์เฟรสแนลเป็นเลนส์ ก็ต้องมีทางยาวโฟกัสซิ เธอไม่ตอบ ส่วนผมก็ไม่เซ้าชี้ขอคำตอบอะไร
วันหนึ่งนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือโทรมาหาซื้อเลนส์ฟรีเนล ผมเลยสอนเขาว่าชื่อที่ถูกต้องคือเลนส์เฟรสเนล นักศึกษาจึงตอบกลับอ้อมๆแอ้มๆว่าเห็นอาจารย์ท่านบอกเขาอย่างนั้น แต่อีกประมาณ 1 สัปดาห์ ผมจึงพบในนิตยสาร S&VC (บางช่วงก็เขียนเป็น S & V Contractor และบางช่วงก็เขียนเป็น Sound & Video Contractor ) เขาบอกว่าการออกเสียงที่ถูกต้องของคำว่า Fresnel lens คือเลนส์ฟรีเนล ซึ่งเป็นชื่อของนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Augustin-Jean Fresnel ดังนั้นการออกเสียงจึงเป็นฟรีเนล ผมเสียใจและอยากขอโทษเขา แต่ไม่มีเบอร์โทรศัพท์ของเขา ผมจึงขออภัยมา ณ ที่นี้แทน ซึ่งเขาผู้ประดิฐฟรีเนล เพื่อใช้กับกระโจมไฟ
รูปที่ 2 .เลนส์ฟรีเลนส์รุ่นแรกๆ
ที่ใช้กับกระโจมไฟ
|
|
วันหนึ่งผมได้ชมภาพยนตร์ทาง TrueVision ได้เห็นตัวพระและ
ตัวนางขึ้นไปมีปากเสียงกันบนกระโจมไฟ (ประภาคาร) ผมสังเกตุ
เห็นฉากหลังที่มีแสงไฟ มีการใช้เลนส์ฟรีเลน ผมเลยเริ่มสังเกต
ดูไฟจราจรและไฟ Spot light ที่ใช้ส่องบนเวที ซึ่งไฟทั้ง 2 อย่างนี้
มีลำแสงที่แคบแบบเดียวกับไฟของกระโจมไฟ ล้วนใช้เลนส์ฟรีเนล
หลักการในการทำงาน และการออกแบบเลนส์ฟรีเนลให้ซอนหั่น
เลนส์นูน และเอามเรียงใหม่โดยให้ด้านบนอยู่ระนาบเดียวกัน ทำให้
ด้านล่างยื่นออกมา ยิ่งอยู่กลางเลนส์มากเท่าไหร่ยิ่งยื่นออกมามากเท่านั้น |
|
|
การหันเลนส์นูนนั้น ไม่ใช่หั่นเหมือนการหันแตงกวาครึ่งซีก แล้วเอามาฝานเป็นแว่น แต่เป็นการหั่นตามความสูงที่เท่ากัน ผมจึงขอยืมคำที่ใช้เรียกเส้นบอกความสูงในแผนที่ภูมิศาสตร์ว่าเส้น Contour
|
|
รูปที่ 5. หลักการที่มาที่ไปออกแบบเลนส์ฟรีเนล |
มาใช้กับเส้นวงกลมของเลนส์ฟรีเนลดังนั้นรอยหั่นตามเส้น Contour จึงเป็นวงกลมๆซ้อนกัน
เสร็จแล้วให้เรียงใหม่ โดยให้ด้านโค้งนูนอยู่ในระดับเดียวกัน
ภาพเลนส์นู้นและเลนส์ฟรีเนลที่มองจากด้านบน จะเห็นว่าการหั่นเลนส์ไม่ใช่การหั่นเป็นเส้นตรง แต่เป็นการหั่นเป็นแนววงกลมที่มีระดับสูงเท่ากัน
ซึ่งจะทำให้ด้านล่างของส่วนเลนส์ที่หนายืดลงมา ยิ่งอยู่กลางเลนส์มากเท่าไหร่ส่วนล่างของเลนส์ก็จะยิ่งห้อยต่ำลงมากเท่านั้น ต่อจากนั้นให้หั่นชิ้นเลนส์ที่ยื่นลงมาออก จนด้านล่างขอเลนส์เป็นแผ่นเรียบ
โดยการสรุปเอาว่าแสงที่ส่องเข้าจากด้านล่างตั้งฉากกับพื้นเลนส์ด้านล่าง จึงผ่านเข้าแก้วเลนส์โดยไม่มีการหักเหเกิดขึ้น ซึ่งก็เหมือนกับเลนส์นูนธรรมดา
รูปที่ 6. ภาพเปรียบเทียบระหว่างเลนส์ฟรีเนล กับเลนส์นูนที่ชัดเจน
|
ประโยชน์ของเลนส์ฟรีเนลคือ
- น้ำหนักของเลนส์ฟรีเนลจะเบาลง เพราะมีการลดมวลแก้วลง
- ไม่แตกง่ายจากความร้อน เพราะมีความบางพอๆกันทั่วทั้งแผ่นเลนส์ ขณะที่เลนส์นูนปกติตรงขอบจะบาง ส่วนตรงกลางจะหนา
ความร้อนที่ผิวเลนส์ที่หนาจะสูงกว่าเลนสที่อยู่ลึกๆ ทำให้การขยายตัวของเนื้อเลนส์ไม่เท่ากัน อันเป็นเหตุให้เลนส์แตกง่าย
- ทำให้สามารถทำเลนส์ฟรีเนลให้มีขนาดใหญ่ได้ตามต้องการ
- ราคาจะถูกลงมากๆ โดยเฉพาะเลนส์ฟรีเนลที่ทำด้วยอคลิลิค
ในการผลิตเลนส์ที่เป็นแก้ว เราจะหลอมแก้วในกระถางดินพิเศษซึ่งมีราคาสูงมาก เมื่อแก้วเลนส์เย็นลง ก้อนแก้วจะแตก รวมทั้งกระถาง
ดินก็จะแตกด้วย หลังจากนั้นจะนำแท่งแก้วที่มีขนาดพอเหมาะที่จะใช้ทำเลนส์มาตรวจดูคุณภาพ ว่าไม่มีรอยร้าว ไม่มีฟองอากาศ และ
ไม่มีเม็ดแก้วขุ่นๆ อันเนื่องจากร้อนไม่พอ แล้วนำมาตัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยมด้วยไฟแก๊สให้
มีรูปร่างคล้ายขนมสาสี่ เสร็จแล้วจึงนำมาอบให้ร้อนจนนิ่ม แล้วนำไปปั้มให้นูนคล้ายๆกับเลนส์ เพื่อให้การฝนแก้วให้เป็นเลนส์จะได้ไม่
ต้องฝนเลนส์มาก ขั้นตอนเหล่านี้แพงมาก
ในการทำเลนส์ฟรีเนลด้วยแก้วเราสามารถหล่อแก้วขึ้นรูปได้เลย หากจำนวนการหั่นเลนส์นั้นหยาบ เช่น เลนส์ฟรีเนลที่ใช้กับกระโจม
หรือเลนส์ฟรีเนลที่ใช้กับไฟจราจร และเลนส์ฟรีเนลที่ใช้กับสปอตไลท์ที่ต้องตากแดดตากลมที่อาจมีฝุ่น
แต่เราไม่สามารถหล่อเลนส์ฟรีเนลที่ละเอียดได้ เราจึงหล่อด้วยอคริริคที่ขาวและใส เมื่อหล่อเสร็จแล้วจะมีความละเอียด แต่เลนส์ที่ทำจาก
อคริริคจะนิ่ม ไม่เหมาะที่จะใช้กลางแจ้งได้ดี
เหตุที่เขียนบทความเรื่องเลนส์ฟรีเนลขึ้นมาก็เพราะ ผมอยากจะเขียนเรื่องเครื่องฉายภาพแผ่นใส (Overhead projector = OHP)
และเมื่อเขียนถึงเลนส์ฟรีเนล ผู้อ่านจะได้รู้ว่าเลนส์ฟรีเนลคือเลนส์อะไร และทำหน้าที่อะไร
หลักการของการทำงานของเลนส์ฟรีเนล ผมได้พยายามค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต และ วิพีเดียกิ แต่ก็ยังหาไม่พบ รวมทั้งภาพอธิบาย
หลายภาพก็ต้องออกแบบและวาดขึ้นมาใหม่ โดยพยายามให้เข้าใจได้ง่าย
หากเราค้นคว้าเราก็จะได้คำตอบ ไม่ใช่คิดขึ้นมาเองแล้วมาสอนคนนี้ อย่างที่นักวิชาการจำนวนมากนิยมทำกัน |